ทักษะการเรียนรู้ทางภาษามีด้วยกันสี่อย่างได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน  การอ่านถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดโดยเฉพาะอย่างในยุคของข้อมูลข่าวสารในปัจจุบัน  ข้อมูลสำคัญๆต่างๆจะมาในรูปของตัวอักษร อาทิเช่น หนังสือพิมพ์  วารสาร หรือข้อมูลที่สืบค้นมาจากอินเตอร์เน็ท เป็นต้น  ยุคสมัยแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด  จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่ผู้อ่านจะต้องมีความสามารถทางการอ่านที่ดีและมีประสิทธิภาพ

การเรียนภาษาต่างประเทศเพื่อให้เกิดความแตกฉานก็เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง การอ่านเพื่อให้เกิดความเข้าใจถือว่าเป็นหัวใจสำคัญอย่างมากเช่นกัน ปราศจากทักษะการอ่านที่ดีแล้วก็จะเป็นการยากที่จะทำให้ผู้เรียนจะประสบความสำเร็จดังกล่าว

การอ่านหมายความว่าอย่างไร
จากความหมายของการอ่านบางส่วนซึ่งแปลโดยดิกชันนารีของ Macmillan English Dictionary for Advanced Learners (2002, p.1173), คือ “ความสามารถในการอ่าน ได้แก่กระบวนการจดจำข้อความและทำความเข้าใจความหมายนั้นๆ” การอ่านไม่ได้เพียงแต่จำกัดความหมายถึงการแปลและถอดข้อความเป็นคำๆ ได้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงกระบวนการที่ผู้อ่านจะต้องสามารถทำความเข้าใจของความหมายได้อย่างลึกซึ้งและแท้จริงอีกด้วย

แง่มุมต่างๆเกี่ยวข้องกับการอ่าน
การอ่านเป็นมากกว่าการมองเห็นคำต่างๆได้อย่างชัดเจน การอ่านที่ดีผู้อ่านจะต้องใช้ความคิด ความรู้สึก และการใช้จินตนาการร่วมด้วย โดยรวมจะเรียกว่าการอ่านแบบจริงจัง มันเป็นสิ่งสำคัญทีเดียวสำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่เวลาอ่านแล้วจะมีการขีดเส้นใต้ เขียนโน้ต ใช้สีเขียนเน้นข้อความ ในหนังสือแบบเรียนทางวิชาการต่างๆ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้สามารถจดจำสิ่งสำคัญๆได้ดียิ่งขึ้น


กลยุทธ์อื่นๆที่ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านได้แก่ การอ่านที่รวดเร็ว การอ่านยังหมายถึงการเรียบเรียงและประมวลความคิดของผู้เขียน ที่ต้องการสื่อสารมายังผู้อ่านอีกด้วย

กลยุทธ์การอ่านหนังสือวิชาการ

  1. ก่อนจะเริ่มอ่าน จะต้องถามตัวเองให้ชัดเจนก่อนว่าวัตถุประสงค์ในการอ่านครั้งนี้คืออะไร และเริ่มทำการตรวจสอบหนังสือดังกล่าวนั้นว่าสามารถตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้หรือไม่  วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการอ่านบทนำ (introduction)  และหัวเรื่องในสารบาญ หลังจากนั้นให้พลิกหนังสือทั้งเล่มดูคร่าวๆ เพื่อเป็นการสำรวจ ดูคำสำคัญที่มีความหมาย (key word) สุดท้ายจึงสรุปว่าหนังสือดังกล่าวเหมาะสมที่จะอ่านหรือไม่ประการใด เทคนิคนี้สามารถประยุกต์ไปใช้กับการอ่านบทความ หรือข้อความต่างๆได้คือ ให้อ่านที่ประโยคแรกและประโยคสุดท้าย ซึ่งจะช่วยให้เราประหยัดเวลาได้เป็นอย่างมากทีเดียว คือประโยคแรกจะเป็นการพูดถึงหัวข้อหรือใจความสำคัญ ส่วนประโยคสุดท้ายจะเป็นการสรุปเนื้อหาของบทความนั้นๆ

  2. การเริ่มต้นอ่าน โดยอาจจะต้องดูรูปภาพประกอบ และการอ่านโดยพยายามจับใจความและการคาดเดาความคิดเห็นของผู้เขียนว่าจะเป็นอย่างไร จะเป็นการช่วยให้เราสามารถอ่านได้ดียิ่งขึ้น

  3. การจดบันทึก การขีดเขียนสำหรับใจความสำคัญต่างๆ จะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำใจความสำคัญๆ

การจดบันทึก การขีดเขียนสำหรับใจความสำคัญต่างๆ จะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำใจความสำคัญๆ

  1. ให้มองหาคำอธิบายหลังคำที่เราไม่เข้าใจนั้นๆ ซึ่งผู้เขียนอาจจะเขียนคำขยายเพิ่มเติมถัดมาและช่วยทำให้เราสามารถทำความเข้าใจความหมายของคำแรกได้ดียิ่งขึ้น

  2. ให้มองหาตัวอย่างของคำที่ผู้เขียนอาจยกตัวอย่างประกอบไว้ จะทำให้เราเข้าใจความหมายของคำได้อย่างชัดเจน

  3. ให้มองหาคำที่มีความหายตรงกันข้าม ซึ่งอาจจะมีปรากฏให้เห็น

  4. ให้มองหาคำที่เราคุ้นเคย และมีความหมายที่ใกล้เคียงกัน




ข้อมูลจาก :
วารสาร CPD & Account ฉบับเดือนธันวาคม 2559
สันติ ประพันธ์ : CLASSIFIED : LIFESTYLE


JobDST Job จ็อบดีเอสที สมัครงาน งาน หางาน หางานดี งานราชการ งานบัญชี งานนอกเวลางานอิสระ งานบริษัท มหาชน เอกชน รัฐวิสาหกิจ บรรษัท ค้นหาคนคนหางาน ค้นหาพนักงานรับสมัครงาน รับสมัครพนักงาน ค้นหาคนดี ค้นหาคนเก่ง แหล่งรวบรวมข้อมูล บริษัทชั้นนำคนหางานทั่วประเทศ