ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1. ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่ลูกจ้างได้รับเนื่องจากการเดินทางไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ในประเทศหรือต่างประเทศ
เป็นครั้งคราว คือ ไม่ได้ออกไปเป็นประจำ
2. ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางต้องจ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่จะต้องปฏิบัติการตามหน้าที่ของตน
และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
3. ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางต้องไม่เกินอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุดที่ทางราชการกำหนดจ่ายให้แก่ข้าราชการตาม
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในประเทศหรือต่างประเทศ แล้วแต่กรณี ตามหลัก
เกณฑ์การเบิกจ่ายในตามลักษณะเหมาจ่าย หากไม่เกินจำนวนเงินไม่ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินมาพิสูจน์
- ค่าเบี้ยเลี้ยงในประเทศ เบิกได้สูงสุดไม่เกินวันละ 270 บาท
- ค่าเบี้ยเลี้ยงต่างประเทศ เบิกได้สูงสุดไม่เกินวันละ 3100 บาท

* กรณีได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราเกินกว่าอัตราข้างต้น และไม่มีหลักฐานมาพิสูจน์ว่าได้จ่ายไปโดยสุจริต
ตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น ให้ถือว่า
ค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลนั้นได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็น เพียงเฉพาะใน
ส่วนที่ไม่เกินอัตราที่กำหนด


สำคัญมาก!
* ต้องมีหลักฐานการได้รับอนุมัติให้เดินทางไปปฏิบัติงานนอกสำนักงานหรือนอกสถานที่จากนายจ้างหรือ
ผู้จ่ายเงินได้ โดยต้องระบุลักษณะงานที่ทำและระยะเวลาในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ (อ้างอิง : คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ป. 59/2538)

บริษัทมีสิทธินำค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางที่จ่ายให้แก่พนักงานมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้
หากเป็นรายจ่ายที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการประกอบกิจการ และเป็นรายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะ
เมื่อมีการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางใช้ “ใบเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง”  เป็นเอกสารภายในของกิจการ
เพื่อเป็นหลักฐานการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง โดยมีการระบุรายละเอียดดังนี้
1. มีระเบียบสวัสดิการในการจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยง
2. มีวัตถุประสงค์การเดินทาง
3. ลายเซ็นผู้อนุมัติ

เลขที่หนังสือ : กค 0702/8322
วันที่ : 20 พฤษภาคม 2552
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้ที่ได้รับจากการลดทุน
ข้อกฎหมาย : มาตรา 40(4)(ง) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อหารือ : บริษัทฯ ได้กำหนดจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้กับพนักงานของบริษัทฯ ที่ได้รับมอบหมายให้เดินทาง
ไปปฏิบัติงาน ตามหน้าที่ในประเทศและต่างประเทศเป็นครั้งคราวเพื่อให้เป็นค่าใช้จ่ายของพนักงาน โดยที่พนักงาน
ไม่ต้องนำใบเสร็จรับเงิน มาแสดงกับบริษัทฯ แต่อย่างใด บริษัทฯ จึงขอทราบว่า
1. พนักงานของบริษัทฯ ได้รับเงินค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวในประเทศไทยและจากสาขาของบริษัทฯ ในต่างประเทศ
พนักงาน ของบริษัทฯ ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่           
2. บริษัทฯ จ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงให้กับพนักงานของบริษัทฯ แล้ว และไปเรียกเก็บจากสาขาในต่างประเทศ
เงินค่าเบี้ยเลี้ยง ดังกล่าวพนักงานต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่         
3. จากกรณีตาม 1. และ 2. หากไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่บริษัทฯ ได้หัก
ภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายนำส่งไปแล้ว พนักงานมีสิทธิขอคืนภาษีหรือไม่
แนววินิจฉัย : กรณีบริษัทฯ ได้กำหนดจ่ายเงินค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางให้กับพนักงานของบริษัทฯ ที่ได้รับมอบหมายให้
เดินทางไปปฏิบัติงาน ตามหน้าที่ในประเทศและต่างประเทศเป็นครั้งคราว พนักงานของบริษัทฯ จะได้รับยกเว้นไม่
ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาตามมาตรา 42 (1) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องเข้าลักษณะดังนี้ 
 1. ต้องเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลดังกล่าวได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่จะต้องปฏิบัติตาม
หน้าที่ของตน และได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น 
2. ในกรณีบุคคลดังกล่าวได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราไม่เกินอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงสูงสุดที่ทางราชการกำหนดจ่ายให้แก่
ข้าราชการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการในประเทศหรือต่างประเทศ แล้วแต่กรณี
ตาม หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายในลักษณะเหมาจ่าย ให้ถือว่าค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลดังกล่าว
ได้จ่ายไปโดย สุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไปทั้งหมดในการนั้น
โดยไม่ต้องมีหลักฐาน การจ่ายเงินมาพิสูจน์
3. ในกรณีบุคคลดังกล่าวได้รับค่าเบี้ยเลี้ยงในอัตราเกินกว่าอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงตาม 2. และบุคคลดังกล่าวไม่มีหลักฐาน
มาพิสูจน์ว่าได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเฉพาะในการที่ต้องปฏิบัติงานตามหน้าที่ของตนและได้จ่ายไป
ทั้งหมดในการนั้น ให้ถือว่าค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงซึ่งบุคคลนั้นได้จ่ายไปโดยสุจริตตามความจำเป็นเพียง
เฉพาะในส่วนที่ไม่เกินอัตรา ตาม 2. 
การเดินทางไปปฏิบัติงานตามหน้าที่ ตาม 1. 2. และ 3. ต้องมีหลักฐานการได้รับอนุมัติให้เดินทางไปปฏิบัติงานนอก
สำนักงานหรือนอกสถานที่จากนายจ้างหรือผู้จ่ายเงินได้โดยต้องระบุลักษณะงานที่ทำและระยะเวลาปฏิบัติงานตาม
หน้าที่แล้ว แต่กรณีด้วย


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ต้องทำอย่างไร? “ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง”