การตัดมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินที่สูญหายหรือชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้ ตามคำสั่ง
กรมสรรพากร ที่ ป.58/2538
 

กรณี ทรัพย์สินชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้ นำมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินมาตัดเป็นรายจ่ายทั้ง
จำนวนไม่ได้* เว้นแต่
• ทำลาย ซึ่งสามารถตัดต้นทุนที่เหลือเป็นรายจ่ายได้
• ขาย ต้องนำราคาขายมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
(* ข้อหารือกรมสรรพากร เลขหนังสือ : กค 0702/570 วันที่ 20 มกราคม 2553) 

การตัดมูลค่าต้นทุนที่เหลืออยู่ของทรัพย์สินที่สูญหายหรือชำรุดจนไม่สามารถใช้งานได้ ตามคำสั่ง
กรมสรรพากร ที่ ป.58/2538 

กรณี ทรัพย์สินสูญหาย

• มีประกัน หรือสัญญาคุ้มกัน
ถือเป็นผลเสียหายที่อาจได้รับกลับคืน* ทำให้ ตัดเป็นรายจ่ายทันทีไม่ได้ (แม้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีก่อนก็ตาม)
ต้องรอจนกว่าจะได้รับค่าสินไหมชดใช้จากบริษัทประกัน
- เสียหายมากกว่าที่ได้รับชดใช้ผลของส่วนต่างที่เสียหายหักเป็นรายจ่ายได้
- เสียหายน้อยกว่าที่ได้รับชดใช้ส่วนต่างค่าชดใช้ความเสียหายต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี
เงินได้นิติบุคคลด้วย
(* เป็นรายจ่ายต้องห้ามตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากร)

• ไม่มีประกัน หรือสัญญาคุ้มกัน
มูลค่าต้นทุนที่เหลือ ถือเป็นผลเสียหายจากการประกอบกิจการ** ตัดเป็นรายจ่ายได้ทั้งจำนวน ไม่ต้องห้ามตาม
มาตรา 65 ตรี ต้องมีหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าสูญหายจริง
(** ข้อหารือกรมสรรพากร เลขหนังสือ : กค 0706/34060 วันที่ ลว. 5 มษายน 2549 )


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : ตัดต้นทุนทรัพย์สินอย่างไร เมื่อทรัพย์สินสูญหายหรือชำรุด