• STEP 1 ออกเมื่อไหร่?

จะออกใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ได้ ต้องมีการออกใบกำกับภาษีแล้ว

• STEP 2 ออกได้กรณีใดบ้าง?
ใบเพิ่มหนี้
1. มีการเพิ่มราคาสินค้า เนื่องจาก
1.1 สินค้าเกินจํานวนที่ซื้อขายกัน
1.2 คํานวณราคาสินค้าผิดพลาด (ต่ำกว่าที่เป็นจริง)
2. มีการเพิ่มค่าบริการ เนื่องจาก
2.1 ให้บริการเกินข้อกําหนดที่ตกลง
2.2 คํานวณค่าบริการผิดพลาด (ต่ำกว่าที่เป็นจริง)
ใบลดหนี้
1. มีการลดราคาสินค้า เนื่องจาก
1.1 สินค้าผิดข้อกําหนดที่ตกลง
1.2 สินค้าชํารุดเสียหาย/ไม่ครบ
1.3 คํานวณราคาสินค้าผิดพลาด (สูงกว่าที่เป็นจริง)
2. มีการลดค่าบริการ เนื่องจาก
2.1 ให้บริการผิดข้อกําหนดที่ตกลงกัน
2.2 บริการขาดจํานวน
2.3 คํานวณค่าบริการผิดพลาด (สูงกว่าที่เป็นจริง)
3. รับสินค้าที่ขายกลับคืน เนื่องจาก
3.1 สินค้าชํารุดบกพร่อง
3.2 ไม่ตรงตามตัวอย่าง หรือคำพรรณา
4. มีการจ่ายคืนเงินจ่ายล่วงหน้า เงินประกัน เงินมัดจํา เงินจอง ให้แก่ผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการ
ตามข้อตกลงทางการค้า
5. มีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการจดทะเบียน
6. มีการคืนสินค้าหรือแลกเปลี่ยนสินค้าตามข้อตกลงทางการค้าระหว่าง ผู้ประกอบการจดทะเบียนและ
ผู้ซื้อสินค้า เฉพาะที่กระทําภายในเวลาอันสมควร
7. มีการบอกเลิกสัญญาบริการเนื่องจากการให้บริการบกพร่อง หรือให้บริการผิดข้อกําหนดที่ตกลงกัน
8. มีการบอกเลิกสัญญาบริการเนื่องจากไม่มีการให้บริการตามสัญญา

• STEP 3 นำไปใช้อย่างไร?
ผู้ออก
ต้องออกใบเพิ่มหนี้ / ใบลดหนี้ ในเดือนที่มีเหตุที่กล่าวมาเกิดขึ้น
ผู้รับ
ต้องนําภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่เพิ่ม หรือขาด ไปใช้ในเดือนที่ได้รับ

การนําไปลงรายงานภาษีขาย/รายการภาษีซื้อ
   รายงานภาษีขาย  รายงานภาษีซื้อ
ใบเพิ่มหนี้ + (ผู้ออก) + (ผู้รับ)
ใบลดหนี้ - (ผู้ออก)  - (ผู้รับ)
ให้ถือว่า ใบเพิ่มหนี้ และใบลดหนี้ เป็นใบกำกับภาษี



เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : 3 STEP เข้าใจใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ได้ง่ายๆ นำไปใช้ได้ถูกต้อง