ตกงาน!! อย่าตกใจ คุณได้สิทธิว่างงานเดี๋ยวนี้


     ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน เป็นประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้าง หรือลาออกจากงาน โดยมีเงื่อนไขในการรับประโยชน์ทดแทน คือ ผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนการว่างงาน จึงจะได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานไม่ว่าจะถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงานก็ ตาม

 

     กรณีที่ถูกเลิกจ้าง คือ ผู้ประกันตนจะได้รับประโยชน์ทดแทนในระหว่างการว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบเป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน

 

     กรณีที่ผู้ประกันตนลาออกหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง ผู้ประกันตนจะได้รับประโยชน์ทดแทนในระหว่างการว่างงานอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน นอกจากนี้ผู้ประกันตนยังคงได้รับการคุ้มครองจากประกันสังคม อีก 4 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตายไม่เนื่องจากการทำงาน และคลอดบุตร ต่อไปอีก 6 เดือน

 

     ขั้นตอนรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจะต้องปฏิบัติ ดังนี้

 

1.ผู้ประกันตนต้องรีบขึ้นทะเบียนหางานที่สำนักงานจัดหางานภายใน 30 วัน นับแต่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน และเพื่ออำนวยความสะดวกและบรรเทาความเดือนร้อนแก่ผู้ประกันตนที่ประสบ อุทกภัยที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนระหว่างวันที่ 30 ก.ย.-30 พ.ย.54 สำนักงานประกันสังคมได้ขยายเวลาการขึ้นทะเบียนหางานจาก 30 วันเป็น 60 วัน นับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน 


2.กรอกแบบฟอร์มใบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐาน ดังนี้ 
-บัตรประจำตัวประชาชน -รูปถ่าย 1 นิ้ว 1 รูป -สำเนาบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ 


3.กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน พร้อมด้วยหลักฐาน ดังนี้ 
-หนังสือรับรองการออกจากงานหรือสำเนาแบบแจ้งการออกจากงาน (สปส. 6-09) หรือ หนังสือคำสั่งของนายจ้างที่ให้ออกจากงาน 


4.เจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางานจะทำการสัมภาษณ์ / ตรวจสอบคุณสมบัติและประวัติการทำงาน โดยนัดรายงานตัว เดือนละ 1 ครั้ง (กรณีที่ผู้ประกันตนประสบอุทกภัย สำนักงานประกันสังคมรับรายงานตัวให้กับผู้ประกันตนทางโทรศัพท์ ผู้ประกันตนสามารถโทรไปยังสำนักงานประกันสังคมได้ทุกเขต พื้นที่/จังหวัด/สาขาที่ท่านสะดวก) 


5.เจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางานจะมีตำแหน่งงานว่างของสถานประกอบการให้เลือก 3 แห่ง พร้อมออกหนังสือส่งตัว เพื่อให้ผู้ประกันตนไปยื่นใบสมัครงาน โดยทางสถานประกอบการจะแจ้งให้ทราบว่า รับหรือไม่รับผู้ประกันตนต่อสำนักงานจัดหางานที่ผู้ประกันตนไปขึ้นทะเบียน ไว้ 


6.หากยังไม่มีงานที่เหมาะสม สำนักงานจัดหางานจะประสานงานส่งฝึกอบรมแรงงานตามความจำเป็น แต่หากผู้ประกันตนกลับเข้าทำงานในสถานประกอบการ หรือปฏิเสธการฝึกงานที่จัดหาให้หรือไม่มารายงานตัวตามนัด สำนักงานประกันสังคมจะงดจ่ายประโยชน์ทดแทนทันที 


7.สำนักงานจัดหางานจะทำการบันทึกสถานะผู้ประกันตนกรณีว่างงานเข้าสู่ฐานข้อมูลกลาง เพื่อเป็นการส่งข้อมูลต่อสำนักงานประกันสังคม 


8.เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคมรับข้อมูลของผู้ประกันตนกรณีว่างงานมาวินิจฉัยตามเงื่อนไขการเกิดสิทธิ 


9.เมื่อคุณสมบัติครบถ้วนและผู้ประกันตนได้มารายงานตัวตามกำหนดนัด สำนักงานประกันสังคมทำการโอนเงินให้ผู้ประกันตน ผ่านทางบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน เดือนละ 1 ครั้ง ซึ่งมีธนาคาร 10 ธนาคาร ได้แก่

- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

- ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)

- ธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน)

- ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน)

- ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)

- ธนาคารซีไอเอ็มบี จำกัด (มหาชน ) 


10.หากผู้ประกันตนไม่พอใจคำสั่งจ่ายประโยชน์ทดแทนสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง

 

     เพื่ออำนวยความสะดวกและบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกันตน ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวสำนักงานประกันสังคมได้กำหนดแนวปฏิบัติการขยายระยะ เวลาการรับประโยชน์ทดแทนให้แก่ผู้ประกันตน ดังนี้

 

     ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน กรณีที่ผู้ ประกันตนประจำทำงาน ณ สถานประกอบการที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 30 จังหวัด และสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนระหว่างวันที่ 30 กันยายน ถึง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2554 ให้ขยายระยะเวลารับประโยชน์ทดแทนให้แก่ผู้ประกันตน

 

     การรายงานตัวของผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ผู้ ประกันตนสามารถรายงานตัวกรณีว่างงานทางโทรศัพท์ได้ โดยจะมีเจ้าหน้าที่บันทึกรายละเอียด และบันทึกรายละเอียดข้อมูลการรับเรื่อง เพื่อตรวจสอบข้อมูลหากพบว่ามีเหตุสุดวิสัยจากเหตุการณ์ดังกล่าวจริง จะประสานสำนักงานจัดหางานจังหวัด/สำนักจัดหางานกรุงเทพเขตพื้นที่ บันทึกการรายงานตัวเพื่อจ่ายประโยชน์ทดแทนให้แก่ผู้ประกันตนต่อไป 


     หากผู้ประกันตนมีความประสงค์จะใช้สิทธิประกันสังคมต่อไป สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตน โดยสมัครใจตามมาตรา 39 ซึ่งเป็นการสมัครใจของผู้ประกันตนหลังจากสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ประกันตนต้องมีประวัติการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกัน สังคมไม่น้อยกว่า 12 เดือน และต้องสมัครภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ออกจากงานหรือสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างและแจ้งความประสงค์ เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจโดยยื่นแบบคำขอสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-20) ด้วยตนเองได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด ทุกแห่งที่ท่านสะดวก ซึ่งผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายประกันสังคม 6 กรณี ได้แก่ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตายไม่เนื่องจากการทำงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และชราภาพ ซึ่งผู้ประกันตนสามารถแจ้งสำนักงานประกันสังคมให้หักเงินสมทบผ่านทางบัญชี ธนาคารได้ แต่ผู้ประกันตนจะต้องมีเงินให้เพียงพอเพื่อหักเป็นเงินสมทบในอัตราเดือนละ 432 บาท และค่าธรรมเนียม 10 บาท ภายในวันที่ 1-15 ของเดือนถัดไป โดยธนาคารจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินให้ผู้ประกันตนทางไปรษณีย์ หากผู้ประกันตนนำส่งเงินสมทบดังกล่าวเกินกำหนดระยะเวลาจะต้องเสียเงินเพิ่ม อีกร้อยละ 2 ต่อเดือน

 

ศูนย์สารนิเทศ สอบถามประกันสังคม โทร 1506 www.sso.go.th 24 ชั่วโมง

  

 


JobDST Job จ็อบดีเอสที สมัครงาน งาน หางาน หางานดี งานราชการ งานบัญชี งานนอกเวลางานอิสระ งานบริษัท มหาชน เอกชน รัฐวิสาหกิจ บรรษัท ค้นหาคนค้นหางาน ค้นหาพนักงานรับสมัครงาน รับสมัครพนักงาน ค้นหาคนดี ค้นหาคนเก่ง แหล่งรวบรวมข้อมูล บริษัทชั้นนำคนหางานทั่วประเทศ