นายจ้าง ลูกจ้าง ต่างสถานะกัน แต่เป็นความสัมพันธ์ที่ดีของสังคม

 

     
    การดำเนินธุรกิจในแต่ละครั้งส่งผลให้เกิดการจ้างงานตามมาอันเป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิด การหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจซึ่งทำให้ทุกคนในสังคมมีรายได้อยู่ด้วยอย่างมีความสุข นายจ้าง และลูกจ้างถึงแม้จะมีสถานะต่างกัน แต่นั่นคือความสัมพันธ์ที่เกิดจากความเอื้ออาทรของสังคมไทย โดยต่างฝ่ายต่างได้รับผลประโยชน์ด้วยกันทั้งสิ้น

 

     ในระบบประกันสังคม นายจ้าง หมายถึง ผู้ซึ่งรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง และให้หมายรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้างในกรณีที่นายจ้าง เป็นนิติบุคคลให้ หมายรวมถึง ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้มีอำนาจกระทำ การแทน

 

     โดยนายจ้างมีหน้าที่ ในการแจ้งขึ้นทะเบียนนายจ้างและแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ให้กับลูกจ้างครบทุกคนภายใน เวลา 30 วัน นับตั้งแต่ที่รับลูกจ้างเข้าทำงาน โดยไม่มีข้อยกเว้นว่าการจ้างนั้นจะเป็นช่วงทดลองงานหรือไม่ หากนายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างล่าช้าเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดจะทำให้ฐาน ข้อมูล ของลูกจ้างที่เป็นข้อมูลหลักในการใช้ปฏิบัติงานไม่ถูกต้อง ส่งผลกระทบให้ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนหรือได้รับประโยชน์ทดแทน ที่ล่าช้า ดังนั้นนายจ้างมีหน้าที่ ต้องหักเงินสมทบ จากค่าจ้างของลูกจ้างทุกเดือนในอัตราร้อยละ 5 ของค่าจ้าง พร้อมจ่ายเงินสมทบ ในส่วนของนายจ้างและลูกจ้างให้กับสำนักงานประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปเพื่อที่ลูกจ้าง จะได้รับความคุ้มครองจากกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคม

 

     ลูกจ้าง หมายถึง ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้าง โดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านอันมิได้มีการประกอบธุรกิจรวม อยู่ด้วย ซึ่งลูกจ้างที่เป็นผู้ประกันตนต้องหมั่นตรวจสอบข้อมูลและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนการนำส่งเงินสมทบเงิน ออมกรณีชราภาพ และการรับสิทธิประโยชน์รวมถึงเงื่อนไขการรับสิทธิ เพราะหากนายจ้างไม่ขึ้นทะเบียนหรือไม่นำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้กับผู้ ประกันตน จะส่งผลกระทบต่อการรับประโยชน์ทดแทน กรณีต่างๆ อาจทำให้เกิดความล่าช้าในการรับประโยชน์ทดแทนได้ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของผู้ประกันตน ควรหมั่นตรวจสอบสิทธิและศึกษา หาข้อมูลการขอรับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคม ที่ผู้ประกันตนพึงจะได้รับให้ถูกต้องครบถ้วน หากผู้ประกันตนมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลได้ที่ สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่/จังหวัด/สาขา ที่ท่านสะดวก หรือโทร 1506 ( เจ้าหน้าที่ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง )

 

     ลูกจ้างจะได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์จากสำนักงานประกันสังคม 7 กรณีได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยกรณีคลอดบุตรกรณีทุพพลภาพกรณีเสียชีวิตกรณีสงเคราะห์บุตรกรณีชราภาพกรณีว่างงาน นอกจากนี้สำนักงานประกันสังคมยังใส่ใจและดูแลนายจ้าง ลูกจ้างด้วยโครงการและกิจกรรมการบริการต่างๆ อีกมากมาย เห็นได้จากการเพิ่มช่องทางการชำระเงินสมทบ เข้ากองทุนประกันสังคม การให้บริการดีๆ ถึงสถานประกอบการ โครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย เป็นต้น ความเอื้ออาทรดังกล่าวทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง หรือสำนักงานประกันสังคม ต่างก็เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทำให้สังคมไทยอยู่ด้วยหลักประกันที่มั่นคงของชีวิต 

 
ทาง Jobdst ต้องขอขอบคุณบทความดีๆจากสปส.และหวังว่าบทความดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านและเราจะพยายามหาบทความดีๆมาให้ทุกท่านอ่านสม่ำเสมอครับ


JobDST จ็อบดีเอสที สมัครงาน หางาน หางานดี งานราชการ งานบัญชี งานนอกเวลา งานอิสระ งานบริษัท มหาชน เอกชน รัฐวิสาหกิจ บรรษัท ค้นหาคนค้นหางาน ค้นหาพนักงาน รับสมัครงาน รับสมัครพนักงาน ค้นหาคนดี ค้นหาคนเก่ง แหล่งรวบรวมข้อมูล บริษัทชั้นนำ คนหางานทั่วประเทศ จ๊อบดีเอสที