สารบัญญัติตามกฎหมายศุลกากรเกี่ยวกับการนำของเข้าสำเร็จที่ยึดโยงกับฐานและอัตราจึงนับว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ
อย่างยิ่ง พิจารณาเป็น 2 ประเด็นดังนี้

ประเด็นที่ 1‘นำเข้าสำเร็จ’ตามกฎหมายศุลกากรคืออะไร

การนำเข้าสำเร็จไว้ 4 กรณี แยกตามประเภทของการนำเข้าได้ดังนี้
กรณีที่ 1 การนำของเข้าทางทะเล ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่อ “เรือที่นำของเข้ามานั้นได้เข้ามาในเขตท่าที่จะขนถ่าย
ของขึ้นจากเรือหรือท่าที่มีชื่อส่งของถึง”
• กรณีที่ 2 การนำของเข้าทางบก ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่อ “ยานพาหนะที่นำของเข้ามานั้นได้เข้ามาถึงด่านพรมแดน” 
กรณีที่ 3 การนำของเข้าทางอากาศ ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่อ “อากาศยานที่นำของเข้ามานั้นได้ถึงสนามบินที่เป็น
ด่านศุลกากร” 
 กรณีที่ 4 การนำของเข้าทางไปรษณีย์ ให้ถือว่าเป็นอันสำเร็จเมื่อ “ได้เปิดถุงไปรษณีย์

ประเด็นที่ 2 นำเข้าสำเร็จส่งผลต่อ “การเสียอากรศุลกากร” อย่างไร
เมื่อของได้นำเข้าสำเร็จกรณีใดกรณีหนึ่งดังที่กล่าวมาแล้ว ผู้นำของเข้าก็มีหน้าที่เสียอากรตามกฎหมายศุลกากรสำหรับ
ของที่นำเข้ามาโดยจุด (Point) ของการนำเข้าที่เกิดขึ้นสำเร็จแล้วนั้น จะมีความเชื่อมโยงไปยัง “ฐาน”(Tax Base) และ
“อัตรา”(Tax Rate) กล่าวคือ การพิจารณาฐานซึ่งประกอบด้วย “สภาพแห่งของ” และ “ราคาศุลกากร” และการพิจารณา
อัตราซึ่งประกอบด้วย “พิกัดศุลกากร” และ “อัตราศุลกากร” นั้น จะยึดโยงกับจุดที่นำเข้าสำเร็จและมีความเกี่ยวข้องกับ
การนำเข้าสำเร็จเสมอ 
กฎหมายศุลกากรกำหนดให้คำนวณอากรตามสภาพแห่งของ ราคาศุลกากร และพิกัดอัตราศุลกากร ที่เป็นอยู่ในเวลา
ที่นำของเข้าสำเร็จ การพิจารณาฐาน (Base) และพิกัดอัตรา (Rate) ก็จะต้องพิจารณา ณ วันที่ 10 กรกฎาคม ดังนั้น
จึงต้องใช้อัตราอากรร้อยละ 20 และอัตราแลกเปลี่ยนในการคำนวณราคาศุลกากรก็จะใช้อัตรา 35 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์
สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีข้อยกเว้น3 เรื่อง ดังนี้
• ข้อยกเว้นที่ 1 กรณีนำของเข้าไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน
• ข้อยกเว้นที่ 2 กรณีของที่เก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนสูญหายหรือถูกทำลาย 
• ข้อยกเว้นที่ 3 กรณีของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นของเพื่อการผ่านแดนหรือเพื่อการถ่ายลำและต่อมามีการขอ
เปลี่ยนการผ่านพิธีการศุลกากรเป็นของนำเข้าภายในระยะเวลา30 วัน นับแต่วันที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร

หากปรากฏว่าผู้ที่นำของเข้ามาเพื่อการผ่านแดนหรือเพื่อการถ่ายลำนั้นไม่ต้องการนำสินค้านั้นออกไปและไม่ประสงค์
จะปฏิบัติพิธีการศุลกากรแบบผ่านแดนหรือถ่ายลำต่อไปอีกกฎหมายกำหนดให้มีสิทธิขอเปลี่ยนการผ่านพิธีการศุลกากร
จากของผ่านแดนหรือของถ่ายลำเป็นของนำเข้าได้ แต่ต้องดำเนินการภายในกำหนดระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันที่นำเข้ามา
ในราชอาณาจักร ซึ่งเมื่อเปลี่ยนการผ่านพิธีการศุลกากรเป็นของนำเข้าแล้ว ของนั้นย่อมต้องเสียอากรขาเข้า จึงมีปัญหา
ว่าในการเสียอากรขาเข้านั้นจะเสียจากฐานและอัตราอย่างไร เพราะไม่เข้าหลักเกณฑ์ทั่วไป ทั้งยังไม่เข้าข้อยกเว้นใน
ข้อที่ 1 และ 2 ดังที่กล่าวมา กฎหมายจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เรื่องนี้ไว้เป็นพิเศษ โดยให้คำนวณอากรตามสภาพแห่ง
ของ ราคาศุลกากร และพิกัดอัตราศุลกากร ที่เป็นอยู่ในเวลาที่นำของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักร ขอให้สังเกตว่ากฎหมาย
กำหนดให้พิจารณา ณ เวลาที่นำของนั้นเข้ามาในราชอาณาจักรมิใช่เวลาที่นำของเข้าสำเร็จ ดังนั้นของได้เข้าสู่อาณาเขต
ราชอาณาจักรไทยในวันใด ของที่นำเข้ามานั้นย่อมจะต้องเสียอากรจากฐานและอัตราในเวลาที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร
นั่นเอง

   
      บางส่วนจากบทความ “การเสียอากรสำหรับของที่ ‘นำเข้าสำเร็จ’ ตามกฎหมายศุลกากร”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 39 ฉบับที่ 461 เดือน กุมภาพันธ์ 2563




Tax Talk : Custom Duty : รติรัตน์ คงเอียด 
วารสาร : เอกสารภาษีอากร กุมภาพันธ์ 2563