1. ค่าติดตั้ง
กิจการต้องรับรู้รายได้จากการติดตั้งตามขั้นความสำเร็จของบริการที่ให้ เว้นแต่การติดตั้งนั้นเป็นเพียงส่วนประกอบ
ย่อยของการขายซึ่งในกรณีนี้กิจการต้องรับรู้รายได้เมื่อขายสินค้า

2. ค่าบริการซึ่งรวมอยู่ในราคาขายสินค้า
ราคาขายของผลิตภัณฑ์ได้รวมจำนวนที่สามารถระบุได้สำหรับการให้บริการหลังการขาย (เช่น การให้บริการ
หลังการขายและการปรับปรุงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้ดีขึ้นหลังจากที่ขายไปแล้ว) จำนวนที่สามารถระบุได้ดังกล่าว
ต้องบันทึกเป็นรายได้ รอการตัดบัญชีและทยอยรับรู้เป็นรายได้ ตลอดระยะเวลาที่มีการให้บริการ
• ค่านายหน้าโฆษณา => รับรู้เมื่อสื่อโฆษณานั้นได้เผยแพร่สู่สาธารณชน
ส่วนรายได้ค่าผลิตสื่อโฆษณาต้องรับรู้ตามขั้นความสำเร็จของงานนั้น
• ค่านายหน้าตัวแทนประกันภัย => ตัวแทนจะรับรู้รายได้ค่านายหน้าประกันภัยเมื่อวันที่กรมธรรม์
มีผลบังคับหรือวันที่ต่ออายุกรมธรรม์หากตัวแทนนั้นไม่ต้องให้บริการอื่นอีกต่อไป
ยกเว้นมีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ตัวแทนต้องให้บริการอื่นต่อไปตลอดอายุของกรมธรรม์ ตัวแทนต้องบันทึก
ค่านายหน้าประกันภัยนั้นเป็นรายได้รอการตัดบัญชี
• ค่าผ่านประตู => รายได้จากการแสดง การจัดเลี้ยง และงานรื่นเริงอื่นเมื่องานเหล่านั้นได้เกิดขึ้น
หากค่าผ่านประตูนั้นสามารถเข้าชมการแสดงได้หลายประเภท กิจการต้องปันส่วนค่าผ่านประตูให้กับ
การแสดงแต่ละประเภทตามเกณฑ์ที่เหมาะสม
• ค่าเล่าเรียน => กิจการจะรับรู้รายได้ค่าเล่าเรียนตลอดระยะเวลาที่มีการสอน
• ค่าธรรมเนียมในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ตามความต้องการของ
ลูกค้า => รับรู้เป็นรายได้ตามขั้นความสำเร็จของการพัฒนา
ซึ่งขั้นของความสำเร็จดังกล่าวต้องคำนึงถึงการให้บริการภายหลังการส่งมอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : วิธีการรับรู้รายได้จากการให้บริการ