ภาษีเงินได้นิติบุคคล/ ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เมื่อบริษัทจ่ายดอกเบี้ยกู้ยืมเงินให้กรรมการ

• บริษัทมีหน้าที่ต้องหักภาษีณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15% (*** มาตรา 50 (2) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร)
• บริษัทลงรายจ่ายได้ หากเป็นการกู้ยืมเงินมาเพื่อใช้ใน การประกอบกิจการของบริษัท ได้ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 65
ตรี (13) แห่งประมวลรัษฎากร

ภาษีเงินได้บุคลธรรมดาเมื่อกรรมการได้รับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากบริษัท
กรรมการต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยมี 2 ทางเลือกดังนี้
1. เสียภาษี 15% ไม่นำดอกเบี้ยที่ได้รับดังกล่าวไปรวมคำนวณเพื่อ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี
(*** มาตรา 48 (3) (ก) แห่งแห่งประมวลรัษฎากร)
2. นำไปรวมคำนวณเสียภาษีตอนสิ้นปี

เลขที่หนังสือ: กค 0811/05502
วันที่: 11 มิถุนายน 2542
เรื่อง: ภาษีเงินได้และภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีการให้กู้ยืมเงิน
ข้อกฎหมาย: มาตรา 48, มาตรา 50, มาตรา 65 ตรี, มาตรา 91/2, มาตรา 104

ข้อหารือ: บริษัทฯ จำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์ แต่ปัจจุบันบริษัทฯ ต้องประสบปัญหาเกี่ยวกับการขอกู้เงิน
จากธนาคารพาณิชย์เป็นอย่างมาก เพราะธนาคารพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทฯ น้อยมาก ทำให้เป็นปัญหากับบริษัทฯ
อย่างยิ่ง บริษัทฯ จึงหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยแจ้งให้กับผู้ถือหุ้นของบริษัทฯกรรมการของบริษัทฯ และพนักงานของ
บริษัทฯ ว่าถ้าบุคคลต่าง ๆ เหล่านี้มีเงินของตนเอง หากประสงค์จะให้บริษัทฯ กู้ยืม บริษัทฯ ก็พร้อมที่จะกู้ยืมโดยให้ดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 9.0 ต่อปี และบริษัทฯ จะจ่ายดอกเบี้ยให้เป็นรายเดือน แต่มีเงื่อนไขว่าเงินที่บุคคลต่าง ๆ เหล่านั้นนำมาให้
บริษัทฯ กู้ จะต้องเป็นเงินของตนเองเท่านั้น จะนำเงินของคนอื่นมารวมให้กู้ด้วยไม่ได้เป็นอันขาด และในการกู้ยืมดังกล่าว
บริษัทฯ จะทำสัญญากู้ยืมเป็นลายลักษณ์อักษรให้ทุกคน ขอทราบว่า

ภาษีธุรกิจเฉพาะ
1. กรณีได้นำเงินของตนเองไปให้บริษัทฯ กู้ยืม ถ้าไม่ใช่การประกอบอาชีพให้กู้ยืมเงินมาก่อน
และเป็นการให้กู้ยืมครั้งแรกและครั้งเดียว การให้กู้ยืมเงินดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยง
ธนาคารพาณิชย์ ตามมาตรา 91/2(5) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

เลขที่หนังสือ : กค 0811/11481
วันที่ : 8 พฤศจิกายน 2542
เรื่อง : ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงิน
ข้อกฎหมาย : มาตรา91/2(5)

ข้อหารือ : นาย ก เป็นกรรมการของบริษัท เอ ได้นำเงินของตนเองให้บริษัทฯ กู้ยืมเงิน โดยได้ให้กู้ยืมเป็นครั้งแรกและครั้ง
เดียวและไม่ได้ประกอบอาชีพให้กู้ยืมเงิน เมื่อได้รับดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืมเงินดังกล่าวบริษัทฯ ได้หักภาษีณที่จ่ายในอัตรา
ร้อยละ 15 ของเงินได้ที่รับแล้ว จึงหารือว่าในกรณีดังกล่าวนาย ก จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2(5) หรือไม่

แนววินิจฉัย : นาย ก ได้นำเงินของตนเองไปให้บริษัทฯ กู้ยืม หากท่านมิได้มีการประกอบอาชีพให้กู้ยืมเงินมาก่อนและเป็น
การให้กู้ยืมครั้งแรกและครั้งเดียวการให้กู้ยืมเงินดังกล่าว ไม่เข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคาร
พาณิชย์ ตามมาตรา 91/2(5) แห่งประมวลรัษฎากร

2.กรณีบุคคลธรรมดานำเงินของตนให้บุคคลอื่นกู้ยืม ถ้าเป็นการให้กู้ยืมเงิน โดยประกอบการเป็นอาชีพเพื่อให้ได้รับดอกเบี้ย
การให้กู้ยืมดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ อยู่ในบังคับต้องเสีย ภาษีธุรกิจเฉพาะ
ตามมาตรา 91/2(5)แห่งประมวลรัษฎากร

เลขที่หนังสือ: กค0706/3184
วันที่:18 เมษายน 2549
เรื่อง:ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีดอกเบี้ยจากการให้กู้ยืม
ข้อกฎหมาย:มาตรา 48(1)(2) มาตรา 48(3)(ก) มาตรา 50(2)(ข) และมาตรา 91/2(5) แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ : นาย ส. เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 25 ของ บริษัท ช. และบริษัท น. จำกัด โดยนาย ส. ได้ให้
บริษัท ส. จำกัด กู้ยืมเงินจำนวน 10,000,000.- บาท ซึ่งเป็นการให้กู้ยืมเงินครั้งแรกและครั้งเดียวเพื่อใช้ในการบริหารงาน
นาย ส. จะได้รับดอกเบี้ยและถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15.0 นอกจากนี้ นาย ส. ได้ให้บริษัท น. จำกัด กู้ยืมเงิน
จำนวน 2,000,000.- บาท เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจ และบริษัท น. จำกัด จำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากธนาคารพาณิชย์เพื่อซื้อ
อสังหาริมทรัพย์ โดยใช้เครดิตส่วนตัวของนาย ส. ค้ำประกันเงินกู้ ต่อมาธนาคารได้ล้างเงินต้นและดอกเบี้ยในชื่อของบริษัท
น. จำกัด ออกไป พร้อมทั้งตัดเงินในบัญชีส่วนตัวของนาย ส. แทน ในขณะเดียวกันบริษัท น. จำกัด จะล้างบัญชีหนี้สินใน
รายการ เงินกู้จากธนาคารและบันทึกบัญชีหนี้สิน เงินกู้ยืมจากกรรมการแทน ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้จ่ายดอกเบี้ยทั้งเงินกู้ยืมจำนวน
2,000,000.- บาท และเงินกู้ยืมจากการตัดบัญชีของธนาคาร จึงหารือว่า
1. กรณีที่บริษัททั้งสองจ่ายดอกเบี้ยให้กับนาย ส. และบริษัททั้งสองได้หักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว นาย ส. จะมีสิทธิเลือกไม่นำ
ดอกเบี้ยที่ได้รับจากบริษัททั้งสองไปรวมคำนวณภาษีกับเงินได้อื่น ตอนสิ้นปีได้หรือไม่
2. เมื่อนาย ส. ได้รับดอกเบี้ยในแต่ละคราว นาย ส. จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่ ถ้าต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้อง
จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่

แนววินิจฉัย: กรณีตามข้อเท็จจริงข้างต้นบริษัททั้งสองจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่บุคคลผู้ให้กู้ยืม บริษัททั้งสองมีหน้าที่ต้อง
หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตราร้อยละ 15.0 ของเงินได้ตามมาตรา 50(2)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และนาย ส. ซึ่งเป็นบุคคลผู้ให้
กู้ยืมดังกล่าวมีสิทธิเลือกเสียภาษีโดยไม่นำดอกเบี้ยที่ได้รับนั้นไปรวมคำนวณกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เมื่อถึงกำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ได้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 48(1) (2) และมาตรา 48(3)(ก) แห่ง
ประมวลรัษฎากร
2. กรณีบุคคลธรรมดานำเงินของตนให้บุคคลอื่นกู้ยืม หากเป็นการให้กู้ยืมเงินโดยประกอบการเป็นอาชีพเพื่อให้ได้รับดอกเบี้ย
การให้กู้ยืมดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ตามมาตรา 91/2(5) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น นาย ส. ซึ่งเป็นผู้ประกอบการดังกล่าวจึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีธุรกิจ
เฉพาะและเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

สัญญากู้ยืมเงินจากกรรมการ
ต้องติดอากรแสตมป์ (*** ตามลักษณะแห่งตราสาร 5.แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์)


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : “การกู้ยืมเงินกรรมการ” กับ 5 ภาษีที่ต้องรู้