การศึกษาประเด็นจัดทำแผนแม่บทด้านการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม

ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2554 – 2558)

 

 

 

โดย

 

 

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

 


มกราคม2554
รายงาน

การศึกษาประเด็นจัดทำแผนแม่บทด้านการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

ของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม

ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2554 – 2558)

โดย

คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

บทสรุปผู้บริหาร

สำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้เห็นความสำคัญที่จะต้องมีแผนแม่บทด้านการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาให้การสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ โดยกำหนดเป็นแผนงานโครงการ และมาตรการที่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดประสิทธิผลในการลดปัญหาและป้องกันการประสบอันตรายจากการทำงานของลูกจ้าง อย่างเป็นรูปธรรม มีเป้าหมายที่ชัดเจนในระยะยาวจึงได้มอบหมายให้คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลโดย คณะผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย เป็นผู้ดำเนินการโครงการ การศึกษาประเด็นจัดทำแผนแม่บทด้านการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2554 – 2558)โดยได้สรุปผลการดำเนินการดังต่อไปนี้

 

1.ปัญหา และอุปสรรค

สรุปปัญหา และอุปสรรคที่เกี่ยวกับที่มาและสาเหตุของการป้องกันการแก้ไขปัญหาการประสบอันตรายจากการทำงานที่มีอยู่ในปัจจุบันโดยทั่วไปมาจากสาเหตุต่อไปนี้

1)ผู้ประกอบกิจการโดยเฉพาะขนาดกลาง ลงไปถึงขนาดเล็ก เพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากมีทุนทรัพย์น้อย มีทัศนคติไม่ถูกต้องในการลงทุนเพื่อการพัฒนาและการจัดการด้านความปลอดภัย

2)ผู้ประกอบกิจการไม่มีระบบการจัดการ หรือการป้องกันอันตรายในการทำงานที่เหมาะสม เนื่องจากมองว่าเป็นการเพิ่มภาระ ไม่มีความเข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญหรือประโยชน์ หรือมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก

3)ผู้ประกอบกิจการ นายจ้าง ลูกจ้าง องค์กรที่เกี่ยวข้อง หรือบุคลากร ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และขาดจิตสำนึกเกี่ยวกับการป้องกันอันตราย ไม่สามารถเข้าถึงช่องทางในการรับสื่อหรือองค์ความรู้ต่างๆ ที่มีความเหมาะสมตามสถานภาพของแต่ละหน่วยงานหรือบุคคลได้

4)ภาครัฐยังไม่สามารถบังคับใช้ หรือติดตามการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ประกอบกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการจัดการของภาครัฐที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการแสดงศักยภาพโดยมีผลมาจากโครงสร้างที่ไม่เป็นเอกภาพ  มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอัตรากำลังหรือขีดความสามารถของบุคลากร

 

แนวทางที่กองทุนฯ ควรให้การสนับสนุนเพื่อการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานควรใช้หลักการในการป้องกันให้อัตราการประสบอันตรายในการทำงานลดลงดังต่อไปนี้

1)สนับสนุนให้นายจ้างสามารถจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัย ตามกฎหมายและมีผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามที่กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2)สนับสนุนให้นายจ้างมีระบบการจัดการความปลอดภัยฯ ที่เหมาะสมและดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

3)สนับสนุนให้นายจ้าง ลูกจ้าง บุคลากรด้านความปลอดภัย ได้รับการอบรมเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย  มีวินัยในการทำงาน และยอมรับวิธีการปฏิบัติงานตามขั้นตอน

4)สนับสนุนให้ภาครัฐสามารถดำเนินการตรวจสอบ  ตักเตือน  และบังคับใช้กฎหมายตามนโยบายกำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

2.กลุ่มเป้าหมาย

จากข้อมูลทางสถิติของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการแก้ไขตามลำดับความสำคัญและความจำเป็นก่อน  คือ ผู้ประกอบกิจการขนาดเล็ก และกลาง ที่ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ ที่มีคนงานต่ำกว่า 100 คน ที่อยู่ในประเภทอุตสาหกรรม 16 ประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทกิจการที่ประสบอันตรายสูง 10 อันดับแรก โดยให้ความสนใจแก่ประเภทกิจการที่ติดอันดับ 1-5 ภายใน 3 ปี และอันดับ 6-10 ภายใน 5 ปี ในบริเวณพื้นที่ 10 จังหวัดที่มีสถิติการประสบอันตรายสูง ตามลำดับ

 

3.แผนแม่บทด้านการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

จากการที่คณะที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมได้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ และร่วมกันระดมความคิดเห็นแล้ว จึงได้ข้อสรุปออกมาเป็นแผนแม่บทสำหรับสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2554 – 2558 สรุปได้ดังต่อไปนี้

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ศึกษา  คือการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงา

 

จากประเด็นยุทธศาสตร์นี้ สามารถกำหนดออกเป็น กลยุทธ์ 4 ด้าน 13 กิจกรรม และ 31โครงการตัวอย่าง ที่จะช่วยสนับสนุนกลยุทธ์ต่างๆ ดังนี้

กลยุทธ์ที่ 1: เสริมสร้างความเข้มแข็งในการบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยฯ

·กิจกรรมที่ 1.1  ส่งเสริมการปฏิบัติงานของภาครัฐด้านการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

·กิจกรรมที่ 1.2:  ส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการปฏิบัติตามกฎหมายได้ด้วยตนเอง (Self Regulation)

·กิจกรรมที่ 1.3  ส่งเสริมให้มีระบบการตรวจประเมินความปลอดภัยฯโดยบุคคลที่สาม (Third-party Audit)  และ การพัฒนาที่ปรึกษา มาช่วยในการพัฒนาระบบความปลอดภัยฯ

·กิจกรรมที่ 1.4 ส่งเสริมให้มีการให้บริการ หรือจัดตั้งหน่วยงานบริการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยที่มี มาตรฐาน ตามพื้นที่ต่างๆ

กลยุทธ์ที่ 2: เสริมสร้างขีดความ สามารถ และส่งเสริมให้สปก. พัฒนาตนเองด้านความปลอดภัย

·กิจกรรมที่ 2.1 ส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจในการจัดการและปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยแก่ผู้ประกอบกิจการและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการขนาดเล็ก และขนาดกลางที่มีประวัติการประสบอันตรายสูง

·กิจกรรมที่ 2.2 สร้างให้ผู้ประกอบกิจการมีจิตสำนึกด้านความปลอดภัย และ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อลูกจ้าง และต่อสังคม

กลยุทธ์ที่ 3: ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการรณรงค์ และสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

·กิจกรรมที่ 3.1 ส่งเสริมให้มีเครือข่ายความร่วมมือของบุคคลและองค์กรต่างๆ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย

·กิจกรรมที่ 3.2 ส่งเสริมการปลูกฝังให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการต่างๆ

·กิจกรรมที่ 3.3 การให้รางวัล หรือการประกวดแข่งขันต่อความ สำเร็จในการ บริหารจัดการด้านความปลอดภัย

·กิจกรรมที่ 3.4  การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ด้านความปลอดภัย

กลยุทธ์ที่ 4: พัฒนาองค์ความรู้  ระบบฐานข้อมูล  และการเผยแพร่ ในวงกว้าง

·กิจกรรมที่ 4.1 การพัฒนาระบบสารสนเทศความปลอดภัย  มีการศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์ความปลอดภัยประจำปีและเผยแพร่ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง

·กิจกรรมที่ 4.2 การจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านความปลอดภัยที่มีคุณภาพ รวมถึงข้อมูล สถิติต่างๆ ทั้งงานด้านวิชาการ แนวปฏิบัติ กฎหมายที่เกี่ยวข้องและกรณีศึกษาต่างๆ

 

4.งบประมาณ สำหรับการสนับสนุนโครงการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

คณะทำงานได้เสนอแผนงบประมาณเป็นเพียงแนวทางเท่านั้นสำหรับการบริหารเงินทุนสนับสนุนโครงการต่างๆ ใน 5 ปีข้างหน้านี้ ซึ่งในการปฏิบัติจริงต้องขึ้นอยู่กับ นโยบายความคิดเห็น และดุลยพินิจของคณะกรรมการสำนักงานกองทุนเงินทดแทนในที่สุด

 

งบประมาณสำหรับการส่งเสริมหรือป้องกันฯ  ปี 2554 – 2558 (หน่วย : ล้านบาท)

ปี ’54             ปี ’55                 ปี ’56                ปี ’57 ปี ’58                                รวม

19.0               25.5                    42                     46                  46                           178.5

 


สรุปแผนแม่บทและงบประมาณสำหรับ

การส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

ของ สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม  ประจำปี พ.ศ. 2554 – 2558

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ : การส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

(4 กลยุทธ์ 12 กิจกรรม และ 26 โครงการตัวอย่าง)

กลยุทธ์ / กิจกรรม / โครงการตัวอย่าง

งบประมาณ (ล้านบาท)

ปี’54

ปี’55

ปี’56

ปี’57

ปี ’58

กลยุทธ์ที่ 1: เสริมสร้างความเข้มแข็งในการบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัย

กิจกรรมที่ 1.1  ส่งเสริมการปฏิบัติงานของภาครัฐด้านการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

โครงการที่ 1.1.1  การส่งเสริมบุคลากรด้านความปลอดภัยของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

5

5

5

5

5

โครงการที่ 1.1.2  การส่งเสริมความ สามารถของพนักงานตรวจความปลอดภัย ในการบังคับใช้กฎหมาย ด้วยระบบสำแดงการปฏิบัติตามกฎหมายโดย สปก.

   

2

2

2

โครงการที่ 1.1.3 การส่งเสริมและติดตามการปฏิบัติตามกฏหมายของนายจ้าง ในเรื่อง จป.วิชาชีพ และ คปอ.

 

2

2

2

2

กิจกรรมที่ 1.2:  ส่งเสริมให้สปก.ปฏิบัติตามกฎหมายด้วยตนเอง (Self Regulation)

โครงการที่ 1.2.1 โครงการ VPP (Voluntary Protection Program)

1

1

2

2

2

กิจกรรมที่ 1.3  ส่งเสริมให้มีระบบการตรวจประเมินความปลอดภัยโดยบุคคลที่สาม (Third-party Audit)

โครงการที่ 1.3.1 การศึกษาแนวทางการตรวจความปลอดภัยโดยบุคคลที่ 3 (Third-party Audit)

 

1

     

โครงการที่ 1.3.2 การพัฒนาพนักงานตรวจความปลอดภัยประเภทบุคคลที่ 3

   

1.5

2

2

โครงการที่ 1.3.3 การตรวจประเมินความปลอดภัยเพื่อประเมินสภาวะความปลอดภัยของสปก.เป้าหมายที่มีประวัติการประสบอันตรายสูงความเสี่ยงสูง

   

1.5

2

2

กิจกรรมที่ 1.4 ส่งเสริมให้มีการให้บริการหรือหน่วยงานบริการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยที่มี มาตรฐาน ตามพื้นที่ต่างๆ

โครงการ 1.4.1 การบริการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานในสถานประกอบกิจการขนาดเล็กและกลางที่มีความเสี่ยงสูง

2

3

3

3

3

กลยุทธ์ที่ 2: เสริมสร้างขีดความ สามารถ และส่งเสริมให้สปก. พัฒนาตนเองด้านความปลอดภัย

กิจกรรมที่ 2.1 ส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจในการจัดการและปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยแก่ผู้ประกอบกิจการและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการขนาดเล็ก และขนาดกลางที่มีประวัติการประสบอันตรายสูง

โครงการที่ 2.1.1 โครงการจัดทำระบบการจัดการ OSH-MS ตามกฎกระทรวงแรงงานในสปก.ขนาดเล็ก และขนาด กลาง

2

3

3

3

3

โครงการที่ 2.1.2 โครงการจัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยตามประเภทกิจการ

1

1

2

1

1

โครงการที่ 2.1.3 โครงการเสริมสร้างศักยภาพการป้องกันและลดปัญหาการประสบอันตรายในสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม

2

2

3

3

3

โครงการที่ 2.1.4  โครงการทัศนะศึกษาเยี่ยมชมสถานประกอบการดีเด่นที่ประสบความสำเร็จด้านความปลอดภัยสำหรับผู้บริหารและผู้จัดการโรงงาน

   

1

1

1

กิจกรรมที่ 2.2 สร้างให้ผู้ประกอบกิจการมีจิตสำนึกด้านความปลอดภัย และ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อลูกจ้าง และต่อสังคม

โครงการที่ 2.2.1 โครงการหยั่งรู้อันตรายของสถานประกอบการ (Enterprise Risk Assessment)

   

0.5

1

2

โครงการที่ 2.2.2 โครงการกิจกรรมการหยั่งรู้อันตรายในสถานประกอบกิจการ (KYT)

   

1

1.5

2

โครงการที่ 2.2.3 โครงการร่วมเฝ้าระวังความปลอดภัยโดย สปก. และชุมชน

     

2

2

กลยุทธ์ที่ 3: ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการรณรงค์ และสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

         

กิจกรรมที่ 3.1 ส่งเสริมให้มีเครือข่ายความร่วมมือของบุคคลและองค์กรต่างๆ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย

โครงการที่ 3.1.1 โครงการพัฒนาเครือข่ายเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

1.5

1.5

1.5

1.5

1.5

โครงการที่ 3.1.2 โครงการพี่สอนน้อง (Big Brother)

 

0.5

1

2

2

โครงการที่ 3.1.3 โครงการพัฒนาผู้นำแรงงานตามกลุ่มอุตสาหกรรม

0.5

1

1.5

2

2

กิจกรรมที่ 3.2 ส่งเสริมการปลูกฝังให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการต่างๆ

โครงกาที่ 3.2.1 เสริมสร้างพฤติกรรมพื้นฐานเพื่อความปลอดภัย (Behavior-Based Safety (BBS))

   

0.5

1

1.5

กิจกรรมที่ 3.3 การให้รางวัล หรือการประกวดแข่งขันต่อความ สำเร็จในการ บริหารจัดการด้านความปลอดภัย

         

โครงการที่ 3.3.1  การประกวดระบบการจัดการต้านความปลอดภัย

 

1

1

1

1

โครงการที่ 3.3.2 ศึกษามาตรการจูงใจ สถานประกอบกิจการในการพัฒนางานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานแบบยั่งยืน ต่อเนื่องและมีเอกภาพ

   

1

   

กิจกรรมที่ 3.4  การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ด้านความปลอดภัย

         

โครงการที่ 3.4.1 การจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยแห่งชาติ โดย กสร. กระทรวงแรงงาน

2.5

3

3

3

3

โครงการที่ 3.4.2 การจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยประจำปีโดยสมัครใจโดยกลุ่มชมรม หรือ สมาคมต่างๆ ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

0.5

0.5

1

1

1

กลยุทธ์ที่ 4: พัฒนาองค์ความรู้  ระบบฐานข้อมูล  และการเผยแพร่ ในวงกว้าง

กิจกรรมที่ 4.1  การพัฒนาระบบสารสนเทศความปลอดภัย  มีการศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์ความปลอดภัยประจำปีและเผยแพร่ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง

โครงการที่ 4.1.1 การพัฒนาเครื่องมือ สำหรับการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของการดำเนินการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยใน สปก.

     

2

 

โครงการที่ 4.1.2 การแนวทางการจัดทำรายงานประจำปี ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของประเทศ

2

       

โครงการที่ 4.1.3 การพัฒนาสื่อการเรียน/การสอน ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ที่มีประสิทธิภาพสามารถทำความเข้าใจถึงอันตรายและผลกระทบและการป้องกัน  อีกทั้งสามารถเผยแพร่ได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว

   

2

2

2

กิจกรรมที่ 4.2 การจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านความปลอดภัยที่มีคุณภาพ รวมถึงข้อมูล สถิติต่างๆ ทั้งงานด้านวิชาการ แนวปฏิบัติ กฎหมายที่เกี่ยวข้องและกรณีศึกษาต่างๆ

โครงการที่ 4.2.1 การสร้างฐานข้อมูลการวิเคราะห์สถานการณ์ OSH

   

2

   

รวมประมาณการงบสนับสนุน

19.0

25.5

42

46

46

รวมทั้งสิ้น

178.5

             

 


สารบัญ

 

หน้า

 

บทนำ 11

วัตถุประสงค์โครงการ 12

ขอบเขตการศึกษา 12

ผลที่คาดว่าจะได้รับ                                                                                                                                           12

ระยะเวลาการดำเนินการ 12

วิธีการดำเนินการ                                                                                                                                                13

วงเงินงบประมาณ 14

คณะผู้ดำเนินการ                                                                                                                                                14

ผลของการดำเนินงาน                                                                                                                                      15

แผนแม่บทการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยฯ                                                                  18

สรุปและข้อเสนอแนะ                                                                                                                                        32

1.บทนำ

เนื่องจากอัตราการประสบอันตรายจากการทำงานในประเทศไทยนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นตัวเลขที่สูงมากโดยเฉลี่ยประมาณ 20-30 รายต่อคนงาน 1000 คน และเสียชีวิตประมาณ 8 คนต่อคนงาน 100,000 คน เมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่นที่มีการประสบอันตราย ประมาณ 3 รายต่อคนงาน 1000 คน และเสียชีวิต ประมาณ 2 รายต่อ100,000 คน เท่านั้น  ถึงแม้ภาครัฐได้ออกกฎหมายเพื่อผลักดันให้มีการป้องกันการประสบอันตรายอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม การประสบอันตรายจากการทำงานก็ยังอยู่ในจำนวนที่สูงมากและลดลงน้อยมากต่อปี  กล่าวคือในปี 2547 มีการประสบอันตราย จำนวน 215,534 ราย ปี 2548 จำนวน 214,235 ราย ปี 2549 จำนวน 204,257 ราย ปี 2551 จำนวน 176,502 ราย และล่าสุดปี 2552 จำนวน 149,436 ราย (ที่มา: สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม)

นอกจากนั้นแล้ว เงินที่ต้องจ่ายออกไป เพื่อชดเชยการสูญเสียเหล่านี้จากกองทุนเงินทดแทนในแต่ละปีมีถึง ประมาณ 1,500 - 1,900 ล้านบาท ซึ่งเป็นเหตุให้ที่ผ่านมา สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคมได้มีนโยบายที่จะอนุเคราะห์ให้การสนับสนุนต่างๆ ให้ทำโครงการเพื่อศึกษา หรือ ช่วยเหลือ ฟื้นฟูผู้ที่ประสบอันตรายต่างๆ รวมทั้งในการส่งเสริมและป้องกัน การประสบอันตรายเหล่านี้  ด้วยเงินดอกผลของเงินกองทุนที่มีอยู่ อย่างไรก็ตาม การใช้เงินนี้จำเป็นต้องให้คุ้มค่า เพราะเป็นเงินของนายจ้างที่ช่วยแบ่งสรรกันมา และถ้าการเกิดการประสบอันตรายทั้งจากอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานในปัจจุบันสามารถลดลงได้มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ก็จะมีผลต่อการลดการจ่ายเงินทดแทนในแต่ละปีของผู้ประกอบกิจการได้เป็นอย่างมาก

ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่สำนักงานกองทุนเงินทดแทนจะต้องมีแผนแม่บทด้านการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาให้การสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ โดยกำหนดเป็นแผนงานโครงการ และมาตรการที่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดประสิทธิผลในการลดปัญหาและป้องกันการประสบอันตรายจากการทำงานของลูกจ้าง อย่างเป็นรูปธรรม มีเป้าหมายที่ชัดเจนในระยะยาวและได้มอบหมายให้คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลโดย คณะผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย เป็นผู้ดำเนินการโครงการ การศึกษาประเด็นจัดทำแผนแม่บทด้านการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2554 – 2558)ซึ่งบัดนี้การดำเนินโครงการนี้ได้เสร็จสิ้นแล้วคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลจึงขอส่งรายงานสรุปผลการดำเนินการ เพื่อให้สำนักงานกองทุนเงินทดแทนได้พิจารณาดังต่อไปนี้

2.วัตถุประสงค์โครงการ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์โดยสังเขปดังนี้

2.1เพื่อศึกษาวิเคราะห์ลักษณะและประเภทของปัญหาที่เกี่ยวกับการประสบอันตรายจากการทำงานที่

มีอยู่ในปัจจุบันรวมทั้งกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการแก้ไขตามลำดับความสำคัญและความจำเป็น

2.2ศึกษาวิเคราะห์แผนงาน โครงการ และมาตรการที่เหมาะสมสำหรับสำนักงานกองทุนเงินทดแทน

สำนักงานประกันสังคมในการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อนำไปสู่การลดอัตราการประสบอันตรายจากการทำงาน

 

3.ขอบเขตการศึกษา

เนื่องจากเพื่อให้ได้ผลสรุปโดยเร็ว การศึกษาในข้อเสนอนี้จะไม่ใช้การวิจัยอย่างเต็มรูปแบบ แต่จะอาศัย เฉพาะข้อมูลทุติยภูมิด้านการประสบอันตรายจากการทำงานที่มีอยู่ในประเทศและอาจจะใช้ข้อมูลปฐมภูมิเพิ่มเติม จากการสัมภาษณ์เชิงลึกของผู้ที่เกี่ยวข้องในจำนวนที่จำกัด เท่านั้น  และการวิเคราะห์หาข้อ สรุปจะใช้วิธีการประชุมระดมสมองของคณะผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย และอาชีว อนามัยมาประกอบเป็นแผนแม่บท งบประมาณค่าใช้จ่ายของแต่ละโครงการ /กิจกรรมเป็นการประมาณการจากขนาดของโครงการและลักษณะการให้การสนับสนุนที่ผ่านมาในอดีต เป็นกรอบเพื่อพิจารณาโดยสังเขปซึ่งคณะกรรมการของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน จำเป็นต้องพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายๆ ไปพร้อมกับการกำหนดมาตรฐาน ที่เป็นไปตามกฎ ระเบียบของสำนักงานอีกครั้งหนึ่ง

 

4.ผลที่คาดว่าจะได้รับ

4.1สำนักงานประกันสังคมมีแผนแม่บทด้านการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยใน

การทำงาน ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2554-2558) และมีแผนงาน โครงการ มาตรการที่เหมาะสม

4.2คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน สามารถพิจารณารายละเอียดโครงการต่างๆ ของหน่วยงาน

อื่นที่ขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

5.ระยะเวลาดำเนินการ

กำหนดแล้วเสร็จภายใ45 วัน นับถัดจากวันลงนามในใบสั่งจ้าง

6.วิธีการดำเนินงาน

6.1   ศึกษาวิเคราะห์ รายงาน ข้อมูล และสถิติความปลอดภัย การประสบอันตราย จากเอกสาร และข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ เช่น ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนเงินทดแทน แผนงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน แผนแม่บทกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานอื่นๆ เป็นต้น

6.2 รับฟังความคิดเห็นของตัวแทน ผู้บริหาร และคณะกรรมการสำนักงานกองทุนเงินทดแทน และ หัวหน้าหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทางโทรศัพท์ หรือ โดยการเข้าพบเป็นรายบุคคลเพื่อสัมภาษณ์เชิงลึก

6.3 ประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างน้อย 3 ครั้ง ตามกำหนดการข้างล่างนี้ โดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เพื่อหาข้อสรุปประเด็นแผนแม่บท มาตรการที่เหมาะสมและจัดทำเป็นแผนแม่บทสำหรับสำนักงานกองทุนเงินทดแทนในการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน หลังจากนั้นเป็นการประชุมกลุ่มย่อย เพื่อหารือ และทบทวนผลการดำเนินงาน

 

กำหนดการ

หัวข้อการประชุมเชิงปฏิบัติการ

ประชุมครั้งที่ 1

 

1.  ทบทวนเอกสารและข้อมูลที่จำเป็นในการทำแผนแม่บทฯ

2.  กำหนดแนวทางการจัดทำแผนแม่บทฯ

ประชุมครั้งที่ 2

 

1.  วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคในการดำเนินการด้านการส่งเสริม

หรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานสำหรับประเทศ

2. กำหนดประเด็นแผนแม่บทที่จำเป็นสำหรับสำนักงานกองทุนเงินทดแทน

3.  จัดลำดับความสำคัญ และความจำเป็นของประเด็นแผนแม่บท

ประชุมครั้งที่ 3

 

1.  กำหนดวัตถุประสงค์  และเป้าหมาย ที่ต้องการสำหรับแต่ละประเด็นของแผนแม่บท

2.  จัดทำแผนแม่บทฯ

3.  กำหนดข้อเสนอแนะแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งวิธีการวัดผลและตัวชี้วัด

 

6.4   ผู้ดำเนินการ สรุปผล และนำเสนอรายงานการดำเนินการให้แก่คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ต่อไป


7.วงเงินงบประมาณ

จำนวนเงิน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน)

 

8.คณะผู้ดำเนินการ

คณะผู้ดำเนินการประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

ดัง เช่น :

·รศ.ดร.เฉลิมชัย   ชัยกิตติภรณ์                รองศาสตราจารย์  ระดับ 9  ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (อาจารย์หัวหน้าคณะ)

·ดร.ชัยยุทธ  ชวลิตนิธิกุล อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

·นายญัฐวัตร  มนต์เทวัญ อดีตผู้ตรวจราชการกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

·นางจุฑาพนิต  บุญดีกุล ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมความปลอดภัยแรงงานสำนักความปลอดภัย แรงงาน กระทรวงแรงงาน

·รศ. สราวุธ สุธรรมาสอาจารย์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

·ดร. ธีระ พงศ์อนันต์ ผู้จัดการสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน         (ประเทศไทย)

·นายบัญชา  ศรีธนาอุทัยกร ผู้จัดการความปลอดภัยฯ บริษัทเอ็นเอ็กพี แมนูแฟคเจอร์ริ่ง

(ไทยแลนด์) จำกัด

·นายสวินทร์  พงษ์เก่า  นักวิทยาศาสตร์ระดับ 10 /กองบริหารระบบคุณภาพ และเพิ่มผลผลิต

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ

นอกจากนั้นมี เจ้าหน้าที่สนับสนุนอื่นๆ และผู้สังเกตการณ์จากสำนักงานกองทุนเงินทดแทนเข้าร่วมประชุมด้วย


9.ผลของการดำเนินงาน

9.1 ปัญหา และอุปสรรค

สรุปปัญหา และอุปสรรคที่เกี่ยวกับที่มาและสาเหตุของการป้องกันการแก้ไขปัญหาการประสบอันตรายจากการทำงานที่มีอยู่ในปัจจุบันโดยทั่วไปมาจากสาเหตุต่อไปนี้

1)ผู้ประกอบกิจการโดยเฉพาะขนาดกลาง ลงไปถึงขนาดเล็ก เพิกเฉยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากมีทุนทรัพย์น้อย มีทัศนคติไม่ถูกต้องในการลงทุนเพื่อการพัฒนาและการจัดการด้านความปลอดภัย

2)ผู้ประกอบกิจการไม่มีระบบการจัดการ หรือการป้องกันอันตรายในการทำงานที่เหมาะสม เนื่องจากมองว่าเป็นการเพิ่มภาระ ไม่มีความเข้าใจ ไม่เห็นความสำคัญหรือประโยชน์ หรือมองว่าเป็นเรื่องยุ่งยาก

3)ผู้ประกอบกิจการ นายจ้าง ลูกจ้าง องค์กรที่เกี่ยวข้อง หรือบุคลากร ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และขาดจิตสำนึกเกี่ยวกับการป้องกันอันตราย ไม่สามารถเข้าถึงช่องทางในการรับสื่อหรือองค์ความรู้ต่างๆ ที่มีความเหมาะสมตามสถานภาพของแต่ละหน่วยงานหรือบุคคลได้

4)ภาครัฐยังไม่สามารถบังคับใช้ หรือติดตามการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ประกอบกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการจัดการของภาครัฐที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการแสดงศักยภาพโดยมีผลมาจากโครงสร้างที่ไม่เป็นเอกภาพ  มีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ด้านบุคลากร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอัตรากำลังหรือขีดความสามารถของบุคลากร

 

แนวทางที่กองทุนฯ ควรให้การสนับสนุนเพื่อการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานควรใช้หลักการในการป้องกันให้อัตราการประสบอันตรายในการทำงานลดลงดังต่อไปนี้

1)สนับสนุนให้นายจ้างสามารถจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัย ตามกฎหมายและมีผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามที่กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2)สนับสนุนให้นายจ้างมีระบบการจัดการความปลอดภัยฯ ที่เหมาะสมและดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

3)สนับสนุนให้นายจ้าง ลูกจ้าง บุคลากรด้านความปลอดภัย ได้รับการอบรมเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย  มีวินัยในการทำงาน และยอมรับวิธีการปฏิบัติงานตามขั้นตอน

4)สนับสนุนให้ภาครัฐสามารถดำเนินการตรวจสอบ  ตักเตือน  และบังคับใช้กฎหมายตามนโยบายกำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9.2 กลุ่มเป้าหมาย

จากข้อมูลทางสถิติของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน กลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการแก้ไขตามลำดับความสำคัญและความจำเป็นก่อน  คือ ผู้ประกอบกิจการขนาดเล็ก และกลาง ที่ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ ที่มีคนงานต่ำกว่า 100 คน ที่อยู่ในประเภทอุตสาหกรรม 16 ประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเภทกิจการที่ประสบอันตรายสูง 10 อันดับแรก โดยให้ความสนใจแก่ประเภทกิจการที่ติดอันดับ 1-5 ภายใน 3 ปี และอันดับ 6-10 ภายใน 5 ปี ในบริเวณพื้นที่ 10 จังหวัดที่มีสถิติการประสบอันตรายสูง ตามลำดับ  ตามที่แสดงให้เห็นในตารางที่ 1- 3

 

ตารางที่ 1: สถิติการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จำแนกตามความรุนแรง

และขนาดสถานประกอบการ ปี 2552

ขนาดสถานประกอบการ
(จำนวนลูกจ้าง)

ความรุนแรง

รวม

ตาย

ทุพพลภาพ

สูญเสีย
อวัยวะ
บางส่วน

หยุดงาน
เกิน 3 วัน

หยุดงาน
ไม่เกิน 3 วัน

 

1 - 4 คน

51

1

102

1,563

3,318

5,035

5 - 9 คน

52

1

144

2,576

5,255

8,028

10 - 19 คน

89

-

192

3,920

8,558

12,759

20 - 49 คน

123

2

385

6,611

15,993

23,114

50 - 99 คน

69

2

325

5,294

13,492

19,182

100 - 199 คน

68

1

358

5,921

16,755

23,103

200 - 499 คน

72

1

446

6,460

18,905

25,884

500 - 999 คน

30

-

238

3,418

10,604

14,290

1,000 คนขึ้นไป

43

-

193

4,087

13,718

18,041

รวมทั้งหมด

597

8

2,383

39,850

106,598

149,436

และประเภทกิจการที่ประสบอันตรายสูง 10 อันดับแรก ตามที่แสดงในตาราง ที่ 2

 

 

ตารางที่ 2:  ประเภทกิจการที่มีจำนวนการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานสูงสุด 10 อันดับแรก

ในปี 2552

 

 

ลำดับ

 

ประเภทกิจการ

ความรุนแรง

รวม

จำนวน

การประสบอันตราย

ตาย

ทุพพลภาพ

สูญเสีย

อวัยวะบางส่วน

หยุดงาน

เกิน 3 วัน

หยุดงาน

ไม่เกิน 3 วัน

1

การก่อสร้าง (13*)

86

2

109

2,758

10,441

13,396

2

การผลิตเครื่องดื่ม อาหาร ฯลฯ (2*)

28

1

133

2,771

6,308

9,241

3

การค้าเครื่องไฟฟ้า ยานพาหนะ (15*)

52

-

55

2,289

5,985

8,381

4

การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก (6*)

5

-

130

1,789

4,586

6,510

5

การหล่อหลอม กลึงโลหะ (8*)

3

-

124

1,531

4,518

6,176

6

ภัตตาคาร ร้านอาหาร โรงแรม (16*)

20

-

17

1,432

4,027

5,496

7

ร้านสรรพสินค้า สินค้าเบ็ดเตล็ด (15*)

23

1

23

1,338

3,859

4,044

8

การค้าวัสดุก่อสร้าง (15*)

16

-

64

1,691

3,422

5,193

9

การผลิต ประกอบ ซ่อมรถยนต์ ฯลฯ (10*)

12

-

25

912

3,511

4,460

10

ผลิตชิ้นส่วน อุปกรณ์ยานพาหนะ (10*)

1

-

147

933

3,010

4,091

* (ประเภทอุตสาหกรรมใน 16 ประเภท)

 

และจังหวัดที่มีจำนวนการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานสูงที่สุด 10 อันดับแรก ตามที่แสดงในตารางที่ 3

 

 

 

 

 

 

ตารางที่ 3: จังหวัดที่มีจำนวนการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานสูงที่สุด 10 อันดับแรก

ในปี 2552

 

ลำดับ

จังหวัด

ความรุนแรง

รวม

จำนวน

การประสบอันตราย

ตาย

ทุพพลภาพ

สูญเสีย

อวัยวะบางส่วน

หยุดงาน

หยุดงาน

เกิน 3 วัน

ไม่เกิน 3 วัน

1

กรุงเทพมหานคร

165

1

362

11,140

32,318

43,986

2

สมุทรปราการ

31

1

546

6,894

18,435

25,907

3

สมุทรสาคร

17

0

415

2,709

6,504

9,645

4

ชลบุรี

29

0

170

1,865

7,543

9,607

5

ปทุมธานี

27

1

96

1,930

4,497

6,551

6

ระยอง

15

0

78

999

5,015

6,107

7

ฉะเชิงเทรา

9

0

28

950

3,057

4,044

8

นครปฐม

11

0

146

773

3,007

3,937

9

พระนครศรีอยุธยา

12

0

33

949

2,714

3,708

10

นนทบุรี

12

0

47

1,268

2,344

3,671

 

 

 

9.3 แผนแม่บทด้านการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

จากการที่คณะที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมได้ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลต่างๆที่มีอยู่ และร่วมกันระดมความคิดเห็นจึงได้ข้อสรุปออกมาเป็นแผนแม่บทสำหรับสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2554 – 2558 สรุปได้ดังนี้

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ศึกษา คือการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

 

จากประเด็นยุทธศาสตร์นี้ สามารถกำหนดออกเป็น กลยุทธ์ 4 ด้าน 12 กิจกรรม และ 26 โครงการตัวอย่าง ที่จะช่วยสนับสนุนกลยุทธ์ ต่างๆ ดังต่อไปนี้


แผนแม่บทการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

ของ สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม  ประจำปี พ.ศ. 2554 – 2558

 

ประเด็นยุทธศาสตร์ : การส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

(4 กลยุทธ์ 12 กิจกรรม และ 26 โครงการตัวอย่าง)

กลยุทธ์ / กิจกรรม / โครงการ ตัวอย่าง

เป้าประสงค์

เป้าหมาย / งบประมาณ

หมายเหตุ / แนวทางดำเนินการ

หน่วยนับ

ปี

’54

ปี

’55

ปี

’56

ปี

’57

ปี ’58

กลยุทธ์ที่ 1: เสริมสร้างความเข้มแข็งในการบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัย

กิจกรรมที่ 1.1  ส่งเสริมการปฏิบัติงานของภาครัฐด้านการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน

เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติงานของหน่วยงานราชการในการตรวจความปลอดภัย ให้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โครงการที่ 1.1.1  การส่งเสริมให้มีบุคลากรด้านความปลอดภัยของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานอย่างเพียงพอ

เพื่อเพิ่มศักยภาพ และประสิทธิภาพในการทำงานของกรมฯ ในการบังคับใช้กฎหมาย

จำนวนบุคลากร

ที่ได้บรรจุ/พัฒนา

40

40

40

40

40

สปส. สนับสนุนเงินงบประมาณด้านกำลังคนตามแผนประจำปีของ กสร. เพื่อสนับสนุนภารกิจ และสร้างระบบ และการกำหนดเนื้องาน/ภารกิจของ กสร.

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

 

5

5

5

5

5

 

โครงการที่ 1.1.2  การส่งเสริมความ สามารถของพนักงานตรวจความปลอดภัย ในการบังคับใช้กฎหมาย ด้วยระบบสำแดงการปฏิบัติตามกฎหมายโดย สปก.

เพื่อแบ่งเบาภาระและปรับวิธีการทำงานให้เหมาะสมกับข้อจำกัดด้านพนักงานตรวจความปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบังคับใช้กฏหมายฯ  โดยให้เกิดประสิทธิผลการปฏิบัติตามกฏหมายภายใต้กำหนดเวลา

% สปก. ที่สำแดงข้อมูล

 

% การปฏิบัติตามกฏหมาย

   

10

 

 

25

20

 

 

40

25

 

 

50

- จัดทำแบบมาตรฐานสำแดง/ประเมินตนเองในการรายงานการปฏิบัติตามกฎหมายโดยนายจ้าง

- จัดทำกรอบ/ลำดับความสำคัญของกฎหมายแต่ละเรื่อง

- กำหนดแนวดำเนินการพัฒนา การติดตาม และฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ/ผลในการกำกับดูแล

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

     

2

2

2

 

โครงการที่ 1.1.3 การพัฒนาระบบ IT เพื่อส่งเสริมและติดตามรายงานการปฏิบัติตามกฏหมายของนายจ้าง ในเรื่อง จป.วิชาชีพ และ คปอ.

เพื่อบังคับใช้กฏหมายและสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของ จป. และ คปอ. ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการสร้างความปลอดภัยในการทำงาน และอาชีว อนามัย

มีแบบรายงานมาตรฐาน

On line

% ตรวจสอบความถูกต้องที่รายงาน

 

1

 

 

30%

 

 

 

50%

 

 

 

90%

 

 

 

95%

- ปรับปรุงรายงานตามกฏหมาย (จป.3) ให้ง่ายต่อการตรวจสอบ และติดตามรายการปฏิบัติมาตรฐาน On line

- พัฒนาประสิทธิภาพการตรวจสอบรายงาน และการติดตามที่รวดเร็ว ถูกต้อง เพื่อสนับสนุนการทำงาน ของจป.วิชาชีพ และ คปอ. และพัฒนางาน OHS ใน สปก. ตามกลยุทธ์

ประมาณการงบสนับสนุน  (ล้านบาท)

   

2

2

2

2

 

กิจกรรมที่ 1.2:  ส่งเสริมให้สปก.ปฏิบัติตามกฎหมายด้วยตนเอง (Self Regulation)

- เพื่อให้ สปก. สามารถคุ้มครองดูแลตนเองด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย เพื่อเสริมการบังคับใช้กฎหมายโดยภาครัฐให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

โครงการที่ 1.2.1 โครงการ VPP (Voluntary Protection Program)

เพื่อสร้างระบบให้ สปก. ตั้งแต่ 50 คนขึ้นไปสามารถคุ้มครองดูแลตนเองด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยด้วยความสมัครใจ โดยได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษ เช่น ได้รับการยกเว้นจากการตรวจโดยภาครัฐ และการประชาสัมพันธ์/สัญลักษณ์เชิดชูเกียรติ เป็นต้น

จำนวน สปก. ที่เข้าร่วมโครงการ

เริ่ม

50

100

200

400

ศึกษากฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ในปัจจุบัน ความเหมาะสมและประเภทอุตสาหกรรม

ศึกษารูปแบบในต่างประเทศ และรูปการแบบจูงใจ

ออกแบบระบบที่เหมาะสม สำหรับประเทศไทย

- ประสาน หรือ/และ สำนักความปลอดภัยแรงงาน กสร. ออกระเบียบกรมฯ และ ร่วมมือกับ สปส. ให้สิทธิพิเศษแก่ สปก. ในการทำโดยสมัครใจ

จัดทำแผน และทดลองใช้ระบบ

- ประเมินผลและปรับปรุง

ดำเนินการเผยแพร่ ขยายผลต่อไป

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

 

1

1

2

2

2

 

กิจกรรมที่ 1.3  ส่งเสริมให้มีระบบการตรวจประเมินความปลอดภัยโดยบุคคลที่สาม (Third-party Audit)

- เพื่อมีบุคคลที่สาม ที่ไม่ใช่ภาครัฐ ช่วยหน่วยงานราชการในการตรวจประเมินความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการที่ไม่สามารถตรวจประเมินได้เอง ในเรื่องการปฏิบัติงานตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย และการบริหารด้านความปลอดภัยใน สปก.

โครงการที่ 1.3.1 การศึกษาแนวทางการตรวจความปลอดภัยโดยบุคคลที่ 3 (Third-party Audit)

เพื่อได้แนวทางในการจัดทำระบบการตรวจความปลอดภัยโดยบุคคลที่ 3 (Third-party Audit) และการขึ้นทะเบียนและการปรับปรุงทะเบียน เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระการตรวจของภาครัฐ และทำให้ความคล่องตัวและประสิทธิผลในการปฏิบัติตามกฏหมาย

เรื่อง

 

 

 

 

1

     

-ศึกษากฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องในการตรวจความปลอดภัย

-กำหนดแนวทางและข้อกำหนด ด้านคุณสมบัติ ความรู้ความสามารถ การขึ้นทะเบียน การยอมรับของ สปก. การเข้าตรวจ การรักษาความลับ และความโป่รงใส/ยุติธรรม

-จัดทำคู่มือ การอบรมพนักงานตรวจประเภทบุคคลที่ 3 และระบบการขึ้นทะเบียน

-ประเมินผล เสนอกระทรวงแรงงาน

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

     

1

       

โครงการที่ 1.3.2 การพัฒนาพนักงานตรวจความปลอดภัยประเภทบุคคลที่ 3

เพื่อให้มีบุคลากรตรวจความปลอดภัยที่มี ความรู้ความสามารถและคุณสมบัติที่เหมาะสม และสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อการสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย

จำนวนวนผู้เข้าอบรมและขึ้นทะเบียน(คน)

   

100

150

200

-กำหนดแผนการคัดเลือก อบรม พนง.ตรวจแรงงาน

-ดำเนินการสร้าง  ฝึกปฏิบัติ และทดสอบ

-ปฏิบัติงานตรวจ และรายงานผลต่อ กสร.

-เป็นการอบรมภายใต้การกำกับจากภาครัฐ

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

       

1.5

2

2

 

โครงการที่ 1.3.3 การตรวจประเมินความปลอดภัยเพื่อประเมินสภาวะความปลอดภัยของสปก.เป้าหมายที่มีประวัติการประสบอันตรายสูงความเสี่ยงสูง

เพื่อส่งเสริมให้พนักงานตรวจประเมินความปลอดภัยทั้งของรัฐ และประเภทบุคคลที่ 3 สามารถดำเนินการตรวจประเมิน การปฏิบัติงานตามกฎหมายของ จป.  และระบบการจัดการความปลอดภัยใน สปก. ขนาดเล็ก และขนาด กลางที่มีความเสี่ยงสูงอย่างมีประสิทธิภาพ

- เป็นมาตรการนำร่องเพื่อบ่งชี้ให้สปก. ให้มีความตระหนักถึงความจำเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมายเรื่องความปลอดภัย

- เพื่อนำไปสู่การเข้าไปช่วย สปก. ปรับปรุงแก้ไขในการปฏิบัติตามกฎหมาย และมาตรฐานความปลอดภัย

จำนวน สปก. ที่ได้รับการตรวจประเมิน

 

สถิติการประสบอันตรายของ สปก.เป้าหมายที่ลดลง

   

100

 

 

50%

200

 

 

60%

200

 

 

75%

- คัดเลือก สปก. เป้าหมายที่มีประวัติการประสบอันตรายสูง เพื่อประเมินและเร่งรัดการปรับปรุงและพัฒนางานด้านความปลอดภัย

- กสร. ร่วมกับหน่วยงานอื่นและพนักงานตรวจความปลอดภัยประเภทบุคคลที่ 3 จัดทำแผนการดำเนินงาน

- ดำเนินการตามแผน

- วิเคราะห์และรายงานผลการปฏิบัติ

- เสนอแนะลำดับของกลุ่มเป้าหมายที่ต้องมีการดำเนินการต่อไป

- จัดทำฐานข้อมูลเพื่อการบูรณาการและพัฒนาอย่างยั่งยืน

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

       

1.5

2

4

 

กิจกรรมที่ 1.4 ส่งเสริมให้มีการให้บริการหรือหน่วยงานบริการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยที่มี มาตรฐาน ตามพื้นที่ต่างๆ

- เพื่อให้ สปก. เข้าถึงการบริการด้านความปลอดภัย ฯ และสามารถปฏิบัติตามกฎหมายด้านการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมได้

โครงการ 1.4.1 การบริการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมในการทำงานในสถานประกอบกิจการขนาดเล็ก และขนาด กลาง ที่มีความเสี่ยงสูง

- เพื่อสนับสนุนให้ สปก. ขนาดเล็ก และขนาด กลางที่มีความเสี่ยงสูงได้เริ่มปฏิบัติตามกฎหมาย และได้ตระหนักถึงสถานะสภาพแวดล้อมในการทำงานว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด และมีแนวทางปฏิบัติเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป และมีเงื่อนไขที่จะเข้าร่วมพัฒนาอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

จำนวน สปก. ที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายได้รับการบริการและแนะนำเพื่อปรับปรุง

>50

 

>100

 

>100

>100

>100

กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ตามขนาด ประเภทกิจการ และพื้นที่เป้าหมายที่มีประวัติการประสบอันตรายสูง

- จัดทำแผนการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

- ดำเนินการตรวจวัด และขึ้นทะเบียน

- วิเคราะห์ และรายงานผล

- ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง

- รวบรวมสถิติ เพื่อเชื่อมโยงได้กับอัตราการประสบอันตราย และโรคจากการทำงานของสำนักงานประกันสังคม

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

   

2

3

3

3

3

 

กลยุทธ์ที่ 2: เสริมสร้างขีดความ สามารถ และส่งเสริมให้สปก. พัฒนาตนเองด้านความปลอดภัย

กิจกรรมที่ 2.1 ส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจในการจัดการและปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยแก่ผู้ประกอบกิจการและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการขนาดเล็ก และขนาดกลางที่มีประวัติการประสบอันตรายสูง

- เพี่อส่งเสริมให้ความรู้ ความเข้าใจในการจัดการและปฏิบัติงานตามมาตรฐานความปลอดภัยแก่ผู้ประกอบกิจการและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการขนาดเล็ก และขนาดกลางเป้าหมายที่มีประวัติการประสบอันตรายสูง

โครงการที่ 2.1.1 โครงการจัดทำระบบการจัดการ OSH-MS ตามกฎกระทรวงแรงงานในสปก.ขนาดเล็ก และขนาด กลาง

 

เพื่อให้สถานประกอบกิจการขนาดกลางและเล็กที่มีความเสี่ยงสูงมีการจัดทำระบบการจัดการความปลอดภัยเพื่อนำไปสู่การลดอัตราการประสบอันตรายในการทำงาน โดยมีกลุ่มเป้าหมายดังนี้:

·สปก. ขนาดกลางและเล็กที่มีคนงาน

-ต่ำกว่า 50 คน และ

-50 – 99 คน

·อยู่ในพื้นที่ 10 จังหวัดที่มีอัตราการประสบอันตรายสูง

จำนวน สปก. ที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายได้รับการอบรมและจัดทำระบบOSH-MSได้สำเร็จ

>

100

>

200

>

200

>

200

>

200

-กำหนดกลุ่มเป้าหมาย สปก.

-ดำเนินการอบรม และให้คำปรึกษาขั้นต้น

-ติดตามผลการปฏิบัติและให้คำแนะนำต่อเนื่อง

-ประเมินผลและรายงานผลรายการตัวชี้วัดที่จะนำไปสู่การลดอัตราการประสบอันตรายในการทำงานของ สปก.

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

 

   

2

3

4

4

4

 

โครงการที่ 2.1.2 โครงการจัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยงด้านความปลอดภัยตามประเภทกิจการ

มีเครื่องมือและกลไกให้ สปก. สามารถบริหารความเสี่ยง (บ่งชี้ ประเมิน และจัดการความเสี่ยง) ร่วมกับคู่มือปฏิบัติการความปลอดภัย (SOP) ได้ตามสภาพ หรือลักษณะกิจการตามลำดับของประเภทกิจการที่มีความเสี่ยงสูง

·ระดับ 1 – 5 ภายใน 3 ปี และ

·ระดับ 6 – 10  ภายใน 5 ปี

ประเภทกิจการที่มีคู่มือ

1-5

 

 

 

6-10

 

-จัดตั้งคณะทำงานสำหรับแต่ละกลุ่ม ประเภทกิจการ

-จัดทำคู่มืออย่างง่ายๆ (Cook Book)

-นำไปให้ สปก. ปฏิบัติ

-ประเมินผล และปรับปรุงการพัฒนา Cook Book ต่อไป

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

 

1

1

2

1

1

 

โครงการที่ 2.1.3 โครงการเสริมสร้างศักยภาพการป้องกันและลดปัญหาการประสบอันตรายในสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม

 

เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ให้สามารถดำเนินการเพื่อลดการประสบอันตรายที่มีอัตราสูง และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการประสบอันตรายในอนาคตในสถานประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยเน้นความสำคัญที่ความตั้งใจของผู้บริหารเป็นลำดับต้น

จำนวนผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยได้รับการพัฒนา

600

600

900

900

1200

-ให้การอบรมและคำแนะนำแก่ผู้ประกอบกิจการ ในการใช้คู่มือการบริหารความเสี่ยง และเครื่องมือการบ่งชี้อันตราย พร้อมทั้งการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

 

2

2

3

3

3

 

โครงการที่ 2.1.4  โครงการทัศนะศึกษาเยี่ยมชมสถานประกอบการดีเด่นที่ประสบความสำเร็จด้านความปลอดภัยสำหรับผู้บริหารและผู้จัดการโรงงาน

เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้บริหาร และผู้จัดการโรงงานโดยให้เรียนรู้และ เห็นตัวอย่างที่ดีในการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน

จำนวนผู้บริหารและผู้จัดการโรงงานได้รับการพัฒนา

   

40

40

40

 

 

-ผู้บริหารระดับสูง และ คปอ./คณะกรรมการสวัสดิการ สปก.โดยสมัครใจ และได้รับการคัดเลือกตามกลุ่มเป้าหมาย

-จัดทำคู่มือการปฏิบัติ และรายงานความคืบหน้า

-จัดเก็บข้อมูลเพื่อการติดตาม

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

     

1

1

1

 

กิจกรรมที่ 2.2 สร้างให้ผู้ประกอบกิจการมีจิตสำนึกด้านความปลอดภัย และ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อลูกจ้าง และต่อสังคม

- เพื่อรณรงค์ พัฒนาและเสริมสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการทำงาน  ให้กับผู้บริหาร/ผู้นำ/ฝ่ายจัดการในหน่วยงาน/องค์กร ในฐานะผู้กำหนดนโยบายและควบคุมการปฏิบัติ

โครงการที่ 2.2.1 โครงการหยั่งรู้อันตรายของสถานประกอบการ (Enterprise Risk Assessment)

เพื่อสร้างจิตสำนึกในรู้อันตรายและผลกระทบในดำเนินธุรกิจ/กลุ่ม/ประเภทต่างๆ ในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและชื่อเสียง ตลอดจนความรับผิดชอบต่อสังคม และตามข้อกำหนด/มาตรฐานโรงงาน

จำนวนสปก. ที่เข้าร่วมโครงการ

   

100

200

400

- จัดให้มีการอบรมและเผยแพร่วิธีการปฏิบัติในการประเมินอันตรายและผลกระทบของการดำเนินธุรกิจในแง่มุมต่างๆให้แก่ผู้บริหารระดับสูงของ สปก. เป้าหมายขนาดกลางและย่อม

- ติดตามการปฏิบัติตามกฎหมาย กรมโรงงาน และสำรวจการเปลี่ยนแปลงหลังการอบรม

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

       

0.5

1

2

 

โครงการที่ 2.2.1 โครงการกิจกรรมการหยั่งรู้อันตรายในสถานประกอบกิจการ (KYT)

เพื่อรู้เข้าใจและสร้างจิตสำนึกในการชี้บ่งอันตราย ของเจ้าหน้าที่ต้นแบบ ในลักษณะการอบรมเพื่อการอบรมต่อเนื่อง (Train for the trainer)

จำนวนสปก. ที่เข้าร่วมโครงการ

   

100

200

400

จัดให้มีการอบรมและเผยแพร่วิธีการปฏิบัติเทคนิคการชี้บ่งอันตรายก่อนการเกิดอุบัติเหตุให้แก่ สปก. ขนาดกลางและย่อม รวมทั้งโรงเรียน และสถานศึกษาต่างๆ

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

     

1

1.5

2

 

โครงการที่ 2.2.3 โครงการร่วมเฝ้าระวังความปลอดภัยโดย สปก. และชุมชน

 

 

เพื่อให้สังคมมีส่วนร่วมในการดูแลความปลอดภัย และเป็นการเฝ้าระวังอันตรายที่อาจเกิดแก่ สปก. ขนาดกลาง และย่อม  โดยการสร้าแนวทางการทำกิจกรรมแบบอย่างเพื่อสามารถทำกิจกรรมด้วยตนเอง (DIY) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ CSR

จำนวนชุมชน หรือ โครงการความร่วมมือ

     

10

10

-สร้าแนวทางการทำกิจกรรมแบบอย่างในเรื่องหลักๆ

-ให้สปก. ในแต่ละชุมชน ร่วมกับชุมชนในการทำโครงการประเมินความเสี่ยงในพื้นที่รอบข้าง

-จัดกิจกรรมตามความเหมาะสมกับ พื้นที่ เช่น การพัฒนา ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์พลังงาน การช่วยเหลือ ฝึกอพยพหนีไฟ ให้แก่โรงเรียน ฯลฯ

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

       

2

2

 

กลุยุทธ์ที่ 3: ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการรณรงค์ และสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

กิจกรรมที่ 3.1 ส่งเสริมให้มีเครือข่ายความร่วมมือของบุคคลและองค์กรต่างๆ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย

-เพื่อส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ สปก. และ จป. ทั้งในด้านเทคโนโลยี องค์ความรู้ และการประสานความร่วมมือทั้งในภาครัฐและเอกชนรวมไปถึงองค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง และ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในสถาบัน และหน่วยงานต่างๆ

โครงการที่ 3.1.1 โครงการพัฒนาเครือข่ายเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

เพื่อส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ จป. ในสปก. ขนาดกลางและเล็กโดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และวิธีปฏิบัติในด้านความปลอดภัยในการทำงาน และประสานความร่วมมือกันในรูปแบบของเครือข่ายหรือชมรม จป.

จำนวนสมาชิก/เครือข่ายหรือชมรม จป. ที่เพิ่มขึ้นต่อปี

5

 

เริ่ม%

> 15%

> 15%

> 15%

>15%

-รู้แบบการสนับสนุน server กลางเพื่อการสร้าง blogการสื่อสารของกลุ่ม

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

 

1.5

1.5

1.5

1.5

1.5

 

โครงการที่ 3.1.2 โครงการพี่สอนน้อง (Big Brother)

ประเภทที่ 1 การดูแลผู้ส่งมอบในสายการประกอบธุรกิจ (Supply chain) เช่น CCCF

ประเภทที่ 2 เปิดกว้างในกลุ่ม/นิคม/ประเภทธุรกิจ

เพื่อให้สถานประกอบกิจการดูแลกันและกัน ระหว่างบริษัทในเครือ คู่ค้า กลุ่มอุตสาหกรรม นิคม และเขตอุตสาหกรรมเดียวกัน เพื่อให้สามารถมีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ตามกฏหมายฯและพัฒนาต่อเนื่อง

จำนวน สปก. ที่เป็นพี่เลี้ยงได้

จำนวน สปก. ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการช่วยเหลือ

 

10

 

 

100

20

 

 

200

50

 

 

500

50

 

 

500

-สรรหา/รับสมัคร สปก. ดีเด่นเป็นพี่เลี้ยงในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ

-จัดทำระบบและรูปแบบการช่วยเหลือกันแบบพี่ช่วยน้อง หรือเพื่อนช่วยเพื่อน

-กำหนดวิธีการ และเป้าหมาย

-ประกาศเกียรติคุณผู้ที่เข้าร่วมโครงการ

-ติดตามและขยายผลโครงการ

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

   

0.5

1

2

2

 

โครงการที่ 3.1.3 โครงการพัฒนาผู้นำแรงงานตามกลุ่มอุตสาหกรรม

ส่งเสริม คปอ. คณะกรรมการสัสดิการ และตัวแทนพนักงาน ในอุตสาหกรรมต่างๆ ให้มีความรู้ความเข้าใจ และบทบาทในการพัฒนางานทางด้าน OSH

คปอ/ สวัสดิการ

100

200

300

400

400

-สัมมนาหาแนวทาง

-กำหนดกรอบทิศทางให้เห็นเป็นรูปธรรม

-ดำเนินการ

-ติดตามผล

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

 

0.5

1

1.5

2

2

 

กิจกรรมที่ 3.2 ส่งเสริมการปลูกฝังให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการต่างๆ

-เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยใน สปก. ต่างๆ เพื่อให้บุคลากรใน สปก. ได้ตระหนักถึงผลของความปลอดภัยในการทำงาน และสร้างจิตสำนึกร่วมกันในการป้องกันการประสบอันตรายในการทำงาน

โครงกาที่ 3.2.1 เสริมสร้างพฤติกรรมพื้นฐานเพื่อความปลอดภัย (Behavior-Based Safety (BBS))

เพื่อสร้างวิทยากรด้านการสร้างพฤติกรรมพื้นฐานเพื่อความปลอดภัย ให้เกิดการเผยแพร่และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพนักงานด้านความปลอดภัยและส่งเสริมให้เกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยใน สปก

จำนวนผู้ได้รับการพัฒนา

   

100

200

400

-กำหนดหลักสูตรและจัดการอบรมปฏิบัติ เพื่อสร้างวิทยากร และผู้เปลี่ยนพฤติกรรม (Chang agent) ให้เกิดขึ้นใน สปก. เพื่อการวางรากฐานพฤติกรรมที่ถูกต้อง และส่งเสริมให้เกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยใน สปก

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

     

0.5

1

1.5

 

กิจกรรมที่ 3.3 การให้รางวัล หรือการประกวดแข่งขันต่อความ สำเร็จในการ บริหารจัดการด้านความปลอดภัย

-เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ ผู้ประกอบกิจการในการดำเนินการด้านการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและเพื่อให้เป็นตัวอย่าง และแรงจูงใจแก่ผู้ประกอบกิจการอื่นๆ

โครงการที่ 3.3.1 การประกวดระบบการจัดการด้านความปลอดภัย

เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ ผู้ประกอบกิจการในการดำเนินการด้านการจัดทำระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงานและเพื่อให้เป็นตัวอย่าง และแรงจูงใจแก่ผู้ประกอบกิจการอื่นๆ

จำนวนผู้ได้รับรางวัล

 

100

100

100

100

-เพื่อรณรงค์การนำระบบการจัดการสู่การปฏิบัติ ผ่านการเชิดชูเกรียติและแบ่งปันประสบการณ์การจัดทำและบริหารระบบ

-รวบรวมและจัดทำทำเนียบ สปก.ที่มีการจัดทำระบบจัดการฯและรับรองในกลุ่มต่างๆ

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

   

1

1

1

1

 

โครงการที่ 3.3.2 ศึกษามาตรการจูงใจ สถานประกอบกิจการในการพัฒนางานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานแบบยั่งยืน ต่อเนื่องและมีเอกภาพ

เพื่อให้มีกลยุทธ์ระดับประเทศและภาพชัดเจนของระบบการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบกิจการในการดำเนินการด้านความปลอดภัยในการทำงานและเพื่อให้เป็นตัวอย่าง และแรงจูงใจแก่  สปก. อื่นๆ

ผลการศึกษา

   

1

   

ศึกษากฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ในปัจจุบัน ความเหมาะสมและประเภทอุตสาหกรรม

ศึกษารูปแบบในต่างประเทศ และรูปการแบบจูงใจ

ออกแบบระบบที่เหมาะสม สำหรับประเทศไทย

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

     

1

     

กิจกรรมที่ 3.4  การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ ด้านความปลอดภัย

-เพื่อส่งเสริมการจัดกิจกรรมสาธารณะ ด้านความปลอดภัย เช่น งานสัปดาห์ความปลอดภัยแห่งชาติ การจัดนิทรรศการความปลอดภัย การนำเสนอตัวอย่างระบบ และวิธีปฏิบัติด้านความปลอดภัยที่ประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นตัวอย่างได้

โครงการที่ 3.4.1 การจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยแห่งชาติ โดย กสร. กระทรวงแรงงาน

เพื่อรณรงค์เผยแพร่ให้ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงผลงานตัวอย่างของสถานประกอบการดีเด่น และวิธีปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย และปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยให้แก่ สปก. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย นักศึกษา และสาธารณะชน

จำนวนผู้เข้าร่วมสัมมนา

จำนวน

ผู้เข้าชมนิทรรศการ

 

1000

 

 

>

10,

000

 

1500

 

 

>

10,

000

 

2000

 

 

>

10,

000

 

2000

 

 

>

10,

000

 

2000

 

 

>

10,

000

-จัดประชุม สัมมนา และแสดงนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ให้ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แสดงผลงานตัวอย่างของสถานประกอบการดีเด่น และวิธีปฏิบัติที่ดีด้านความปลอดภัย และปลูกฝังวัฒนธรรมความปลอดภัยให้แก่ สปก. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยนักศึกษา และสาธารณะชนทั้งใน กทม. และภูมิภาค

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

   

2.5

3

3

3

3

 

โครงการที่ 3.4.2 การจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยประจำปีโดยสมัครใจโดยกลุ่มชมรม หรือ สมาคมต่างๆ ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

เพื่อรณรงค์ เผยแพร่ สร้างจิตสำนึกให้สังคม เกิดความตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยและอาชีวอนามัยอย่างกว้างขวางจนเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัย

จำนวนงานที่จัดต่อปี

2

2

4

4

4

- จัดงานรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัยสู่สาธารณะ

- แนะนำแนวทางการปฏิบัติตามแนวทาง CSR

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

   

0.5

0.5

1

1

1

 

กลยุทธ์ที่ 4: พัฒนาองค์ความรู้  ระบบฐานข้อมูล  และการเผยแพร่ ในวงกว้าง

กิจกรรมที่ 4.1 การทำวิจัยและพัฒนาเพื่อส่งเสริมด้านความปลอดภัยในการทำงาน

- เพื่อศึกษาวิจัยต่อยอด และพัฒนาความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ระบบ  แนวทางปฏิบัติ และ ความเชื่อมโยงทางเศรษฐศาสตร์ ผลกระทบ ค่าตอบแทน  รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการคิดค้น นวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้ง อุปกรณ์ และ เครื่องมือ ด้านการเฝ้าระวัง การตรวจวัดสิ่งแวดล้อม และการคุ้มครองส่วนบุคคล ที่มีคุณภาพและต้นทุนต่ำเพื่อให้แก่สถานประกอบกิจการต่างๆ ในประเทศสามารถมีใช้ได้อย่างแพร่หลาย

กิจกรรมที่ 4.1  การพัฒนาระบบสารสนเทศความปลอดภัย  มีการศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์ความปลอดภัยประจำปีและเผยแพร่ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง

- เพื่อให้มีการศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์ความปลอดภัยประจำปีและเผยแพร่ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อใช้ประโยชน์ในการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยในด้านต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้บริหาร/ผู้นำทุกภาคส่วนสามารถไปประยุกต์ใช้

โครงการที่ 4.1.1 การพัฒนาเครื่องมือ สำหรับการประเมินทางเศรษฐศาสตร์ของการดำเนินการด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยใน สปก.

เพื่อให้มีพัฒนา Software ที่มีประสิทธิภาพให้ สปก. ได้ใช้ในการประเมินความคุ้มค่า (Cost and Benefit) ด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยในสถานประกอบกิจการ

จำนวนSoftware ที่พัฒนาได้

 

     

1

 

- ศึกษาและค้นคว้าพัฒนา Software เพื่อประเมินทางเศรษฐศาสตร์การดำเนินการด้านความปลอดภัย ให้ใช้ปฏิบัติได้

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

         

2

   

โครงการที่ 4.1.3 การพัฒนาสื่อการเรียน/การสอน ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ที่มีประสิทธิภาพสามารถทำความเข้าใจถึงอันตรายและผลกระทบและการป้องกัน  อีกทั้งสามารถเผยแพร่ได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว

- เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาสื่อการสอนที่มีประสิทธิภาพ ในด้านความปลอดภัยในการทำงานและงานอาชีวอนามัยที่เป็นมาตรฐานและเกิดประโยชน์ในวงกว้าง

- เพื่อสามารถสื่อสารและทำความเข้าใจถึงอันตรายและผลกระทบกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ง่ายและรวดเร็ว

จำนวนสื่อที่ผลิต

   

10

10

10

- ศึกษาเนื้อหา และรูปแบบสื่อที่เหมาะสม

- จัดทำสื่อการสอน

- เผยแพร่ให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้ในวงกว้าง

- ติดตามและปรับปรุงได้อย่างต่อเนื่อง

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

       

2

4

10

 

กิจกรรมที่ 4.2  การจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านความปลอดภัยที่มีคุณภาพ รวมถึงข้อมูล สถิติต่างๆ ทั้งงานด้านวิชาการ แนวปฏิบัติ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และกรณีศึกษาต่างๆ

- เพื่อให้มีระบบฐานข้อมูลด้านความปลอดภัยที่มีคุณภาพ รวมถึงข้อมูล สถิติต่างๆ ทั้งงานด้านวิชาการ แนวปฏิบัติ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และกรณีศึกษาต่างๆ

โครงการที่ 4.2.1 การสร้างฐานข้อมูลการวิเคราะห์สถานการณ์ OSH

เพื่อให้ทุกภาคส่วนมีโปรมแกรมที่สามารถรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งในส่วนงานกลุ่ม/ประเภทธุรกิจ และ/หรือสำนักงานประกันสังคม และสามารถนำไปใช้ประกอบกับการจัดการส่งเสริมและป้องกันด้านความปลอดภัยในการทำงาน

มีฐานข้อมูล

     

1

 

ศึกษาข้อมูล & จัดทำระบบ Software ในการรวบรวม ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล

- เป็นประโยชน์สาธารณะ หรือ องค์กร/หน่วยงาน/ สปก. อื่นนำไปใช้ได้

- กรณีเป็นโปรแกรมเฉพาะสามารถปรับปรุงและนำไปพัฒนาต่อได้

ประมาณการงบสนับสนุน (ล้านบาท)

       

2

     

รวมประมาณการงบสนับสนุน

 

19

25.5

42

46

46

รวม 178.5   ล้านบาท

 


10.สรุปและข้อเสนอแนะ

การศึกษาเพื่อดำเนินการโครงการการศึกษาประเด็นจัดทำแผนแม่บทด้านการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2554 – 2558) โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วตามวัตถุประสงค์ และระยะเวลาที่กำหนด คือ ภายในวันที่ 26 มกราคม 2554 โดยคณะที่ปรึกษาได้จัดทำการศึกษาวิเคราะห์ลักษณะและประเภทของปัญหาที่เกี่ยวกับการประสบอันตรายจากการทำงานที่มีอยู่ในปัจจุบันรวมทั้งกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการแก้ไขตามลำดับความสำคัญและความจำเป็น และได้ศึกษาวิเคราะห์แผนงาน โครงการ(ตัวอย่าง) และมาตรการต่างๆ ที่เหมาะสมสำหรับสำนักงานกองทุนเงินทดแทนสำนักงานประกันสังคมในการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อนำไปสู่การลดอัตราการประสบอันตรายจากการทำงานในลักษณะของแผนแม่บทในช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2554 – 2558 ซึ่งประกอบด้วย ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ 4 ด้าน 13 กิจกรรม และ 31โครงการตัวอย่าง ที่จะช่วยสนับสนุนกลยุทธ์ต่างๆ

ทั้งนี้ แผนแม่บทด้านการส่งเสริมหรือป้องกันเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานนี้ จะเป็นแนวทางสำหรับสำนักงานกองทุนเงินทดแทน ในการพิจารณาให้การสนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ โดยกำหนดเป็นแผนงานโครงการ และมาตรการที่เหมาะสม ส่งผลให้เกิดประสิทธิผลในการลดปัญหาและป้องกันการประสบอันตรายจากการทำงานของลูกจ้าง อย่างเป็นรูปธรรม มีเป้าหมายที่ชัดเจนในระยะยาวต่อไป

แผนงาน และงบประมาณโครงการ เป็นเพียงแนวทางอย่างกว้างๆ เพื่อใช้ประกอบในการพิจารณาของคณะกรรมการฯ เท่านั้น รายละเอียด และ งบประมาณของแต่ละโครงการจะต้องได้รับการนำเสนอด้วยหลักการและเหตุผลจากผู้ที่เสนอโครงการ และอยู่ในกรอบ เงื่อนไข ระเบียบพัสดุ การคลัง และการจัดซื้อจัดจ้างของสำนักงานฯ อีกขั้นหนึ่งในการพิจารณาต่อไป

 

แผนแม่บท หรือแผนงานต่างๆนี้ควรได้รับการทบทวนและปรับปรุง เป็นระยะๆ ในปีต่อๆไปและสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมยิ่งขึ้นได้ตามความจำเป็น และ สถานการณ์ที่อาจจะเปลี่ยนไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านกฎหมาย  เศรษฐกิจ สังคม หรือ ด้านอื่นๆ เป็นต้น

 


จ็อบดีเอสที สมัครงาน หางาน หางานดี งานราชการ งานบัญชี งานนอกเวลา งานอิสระ งานบริษัท มหาชน เอกชน รัฐวิสาหกิจ บรรษัท ค้นหาคนค้นหางาน ค้นหาพนักงาน รับสมัครงาน รับสมัครพนักงาน ค้นหาคนดี ค้นหาคนเก่ง แหล่งรวบรวมข้อมูล บริษัทชั้นนำ คนหางานทั่วประเทศ จ๊อบดีเอสที